10 ประโยชน์ของขมิ้น สมุนไพรต้านการอักเสบ
เชื่อกันว่าขมิ้นมีคุณสมบัติช่วยต้านอาการอักเสบ แต่เพื่อนๆ รู้ไหมว่ามันมีประโยชน์กับร่างกายส่วนไหนมากที่สุด บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จัก 10 ประโยชน์ของขมิ้น ว่าดีต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
ขมิ้นคืออะไร
ขมิ้นคือสมุนไพรที่มีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) สารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านอาการอักเสบซึ่งเชื่อกันว่าดีต่อสุขภาพ (รวมไปถึงเรื่องความสวยความงามด้วย) แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงต้องมีการวิจัยเกี่ยวกับสารนี้ต่อไป เพราะตอนนี้ยังไม่รู้ว่าร่างกายคนควรได้รับสารนี้วันละเท่าไหร่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีทางสุขภาพ แต่ในตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้เราทานขมิ้นเพราะเหตุผลดังต่อไปนี้
1.ขมิ้นอาจช่วยส่งเสริมการลดน้ำหนัก
มีการวิจัยที่พบว่าสารเคอร์คูมินช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักและช่วยลดค่า BMI อ้างอิงข้อมูลจาก Patricia Bannan นักโภชนาการของนครลอสแองเจลิส ระบุมาว่าการทานขมิ้นมากขึ้นไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แม้ว่ามันจะช่วยลดอาการอักเสบซึ่งมีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วนก็ตามแต่เราควรได้รับขมิ้นผ่านการทานอาหารมากกว่า เช่น การทานไก่ผัดใส่ขมิ้น เป็นต้น แต่หากต้องการทานอาหารเสริมก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะมันอาจจะออกฤทธิ์ต้านยารักษาโรคบางตัว
2.ขมิ้นช่วยบรรเทาอาการโรคข้ออักเสบ
สารเคอร์คูมินเป็นโพลิฟีนอล ซึ่งเป็นประเภทของสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้ขมิ้นมีคุณสมบัติในการต้านอาการอักเสบ มีหลายงานวิจัยที่ชี้ว่าสารเคอร์คูมินช่วยลดอาการเจ็บปวด , ความฝืดและบวมในข้อต่อ ซึ่งเกิดจากโรคข้อต่ออักเสบ
มูลนิธิโรคข้ออักเสบของอเมริกาแนะนำให้ผู้ที่เป็นข้อต่ออักเสบทานสารสกัดเคอร์คูมินใส่แคบซูล 500 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามนักโภชนาการชื่อ Jonathan Valdez ซึ่งเป็นโฆษกของสถาบันโภชนาการและสารอาหารแห่งรัฐนิวยอร์กออกมาเตือนว่า การทานเข้าไปถึง 500 มิลลิกรัมอาจจะเกิดการยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กที่มีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจน ทั้งยังเตือนมาว่าควรทานอาหารเสริมเคอร์คูมินพร้อมกับพริกไทยดำ ไม่อย่างนั้นร่างกายจะดูดซึมได้ยาก
นอกจากนี้มูลนิธิโรคข้ออักเสบยังเตือนว่าการได้รับเคอร์คูมินมากเกินไปอาจทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้ และไม่ควรรับประทานสารนี้หากมีการใช้ยา Warfarin (Coumadin) สำหรับคนที่ต้องผ่าตัด , สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคถุงน้ำดี
3.ขมิ้นอาจช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้นได้
สารเคอร์คูมินอาจส่งผลในการต้านอาการซึมเศร้าด้วย มี 10 การวิจัยเกี่ยวกับสารเคอร์คูมินและอาการซึมเศร้าที่ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2019 พบว่ามันช่วยให้อาการวิตกกังวลและซึมเศร้าดีขึ้นได้ แม้แต่กับคนที่ใช้ยาต้านซึมเศร้าอยู่แล้วก็ยังสามารถมีอาการดีขึ้นได้อีก
4.น้ำตาลในเลือดสูงเกินไปขมิ้นอาจช่วยได้
มีคนจำนวนกว่า 100 ล้านคนในอเมริกาที่เป็นเบาหวานหรืออยู่ในภาวะก่อนเบาหวาน โรคเบาหวานประเภทที่สองนั้นเกิดขึ้นจากพันธุกรรมและรูปแบบไลฟ์สไตล์ คนที่เป็นเบาหวานก็มีถึง 90-95% ที่เป็นเบาหวานประเภทที่สอง
การวิจัยเกี่ยวกับเคอร์คูมินพบว่ามันช่วยลดหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่สอง ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น ปลายประสาทอักเสบ และไตผิดปกติจากเบาหวาน
นักวิจัยแนะนำว่าเคอร์คูมินสามารถป้องกันหรือทำให้อาการเบาหวานประเภทที่สองช้าลงได้แต่ยังคงต้องมีการวิจัยเรื่องนี้กันต่อไป
5.ขมิ้นอาจช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์
ประชากรในอินเดียมีคนป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์กันน้อยมากเมื่อเทียบกับยุโรปและในอเมริกา ขมิ้นมักถูกนำมาใช้กับทางอายุรเวท (Ayurveda) ซึ่งเป็นระบบการรักษาที่ถือกำเนิดในอินเดียมาตั้งแต่พันปีก่อนและยังคงได้รับความนิยมอยู่จวบจนทุกวันนี้ นอกจากนี้ขมิ้นยังถูกใช้ไปทำอาหารอินเดีย มันก็เลยมีทฤษฎีออกมาว่า ขมิ้นสามารถช่วยยับยั้งความเสียหายของเซลล์ประสาทในสมองได้
อย่างไรก็ตามขมิ้นอาจส่งเสริมความจำ การทานขมิ้น 1 กรัมทุกวันอาจช่วยเพิ่มความจำและ Cognitive function โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นภาวะก่อนเบาหวาน
6.ขมิ้นอาจมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง
นี่เป็นอีกเรื่องที่อาการอักเสบเข้ามามีบทบาท ในช่วงแรกของการวิจัยในสัตว์เพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างความสามารถในการต้านอาการอักเสบของสารเคอร์คูมินกับมะเร็ง เป็นที่เชื่อกันว่าเคอร์คูมินมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดอาการบวมและอาการอักเสบ ถึงแม้ว่าการทดลองในสัตว์บางครั้งก็ไม่ได้ผลเดียวกับในมนุษย์ แต่การวิจัยก็ยังมุ่งเน้นไปที่เคอร์คูมินและผลกระทบของมันต่อโรคมะเร็ง
การวิจัยในปี ค.ศ.2019 ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Nutrients พบว่าเคอร์คูมินอาจจะมีความสามารถในการต้านมะเร็งเพราะมันไปรบกวนเส้นทางการส่งสัญญาณของเซลล์มะเร็งที่ปลูกในห้องปฏิบัติการและมันก็ถูกตรวจสอบแล้วหลายครั้ง อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการวิจัยกับเรื่องนี้กันต่อไป (และการทานขมิ้นก็มีผลข้างเคียงอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ , ท้องเสีย , ปวดหัวและอุจจาระเป็นสีเหลืองได้)
7.ขมิ้นอาจลบล้างอาการที่เกิดกับโรคลำไส้แปรปรวนและโรคลำไส้อักเสบ
สำหรับผู้ป่วยเป็น IBS (Irritable Bowel Syndrome) หรือ โรคลำไส้แปรปรวนจะต้องเจออาการปวดท้อง, ท้องอืด, ท้องร่วง, และอาการไม่พึงประสงค์อีกหลายอย่าง และขมิ้นก็อาจช่วยบรรเทาอาการบางอย่างไปได้ อ้างอิงจากผลการวิจัยในปี 2018 ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Clinical Medicine มีการเฝ้าดูคนไข้โรคลำไส้อักเสบซึ่งได้รับยา Mesalamine ก็พบว่าเคอร์คูมินสามารถใช้ได้ผลมากกว่าการให้ยาหลอก
8.ขมิ้นอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
ผลลัพธ์ในการลดคอเลสเตอรอลนั้นไม่คงเส้นคงวา แต่ขมิ้นก็สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ซึ่งเป็นไขมันที่อยู่ในเลือดเมื่อเราได้รับแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญได้ และเมื่อเวลาผ่านไปมันก็จะพัฒนาไปเป็นไขมันเลว (LDL) ซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถทำให้ผนังเส้นเลือดแข็งตัวได้ เพิ่มโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดในสมอง , หัวใจวาย , โรคหลอดเลือดและหัวใจได้ การวิจัยพบว่าคนที่ทานขมิ้นหรือเคอร์คูมินจะมีระดับไตรกีลีเซอไรด์และ LDL น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ทาน
9.ขมิ้นอาจช่วยลดโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ
องค์การอนามัยโลกระบุว่าโรคกลุ่มนี้เป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ในการเสียชีวิตของคนทั่วโลก ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็จะเป็นโรคหลอดเลือดในสมองและโรคหัวใจ และยังมีอีกหนึ่งปัญหาหลักก็คืออาการอักเสบ มีการวิจัยในปี ค.ศ.2020 ซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Biotechnology Advances ชี้ให้เห็นว่าเคอร์คูมินอาจใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ดี
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นที่ชี้ว่าความสามารถในการลดอาการอักเสบของขมิ้นอาจเป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคเกี่ยวกับเส้นเลือด การวิจัยยังพบว่าเคอร์คูมินป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้
10.เคอร์คูมินอาจช่วยบล็อคโมเลกุลที่เป็นอันตรายได้
เคอร์คูมินสามารถป้องกันสารอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอันตรายต่อโมเลกุลอื่นๆ มีงานวิจัยเกี่ยวกับเคอร์คูมินและโรคตับ ในระยะยาวความเสียหายจะลูกลามไปสู่เส้นเลือด , เนื้องอกจะโตขึ้น , แถมยังเป็นสาเหตุหลักของการมีริ้วรอย
สารต้านอนุมูลอิสระเช่นเคอร์คูมิน จะช่วยปกป้องเราจากสารอนุมูลอิสระด้วยการเติมอิเล็กตรอนและทำให้โมเลกุลที่เป็นอันตรายกลายเป็นกลางได้ (โดยที่ไม่ทำให้ตัวมันกลายเป็นสารอนุมูลอิสระไปเสียเอง)
ที่มา : https://bit.ly/2PwqPQ5
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming