5 สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อของเราเป็นตะคริว!
เราไม่ต้องเป็นนักวิ่งมาราธอนก็สามารถมีอาการตะคริวได้ ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาว , ผู้สูงอายุ , คนที่ออกกำลังกาย หรือคนที่ไม่ออกกำลังกาย ก็ล้วนมีสิทธิเป็นตะคริวกันได้ทั้งนั้น และอาการตะคริวก็มักจะจู่โจมในช่วงเวลาไม่คาดคิดเสมอ อาจจะเป็นในตอนที่เราออกไปรับแดดยามเช้าหรือแม้แต่รบกวนเราในตอนที่กำลังเข้านอน
“กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เกิดจากการใช้งานหรือการหดตัวที่มากเกิน” กล่าวโดย Houman Danesh ผู้อำนวยการของ Mount Sinai Integrative Pain Management และแม้ว่ามันจะเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ แต่มันก็มักจะเกิดขึ้นที่บริเวณน่องเพราะน่องเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกายนั่นเอง
เป็นเรื่องง่ายมากที่เราจะรู้สึกตัวเมื่อมีอาการตะคริว แต่มันกลับเป็นเรื่องยากที่จะหาสาเหตุได้ และในวันนี้ Houman Danesh จะมาอธิบายเรื่องสาเหตุในการเป็นตะคริวให้เราได้เข้าใจกัน
1. ร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ
สำหรับวิธีการทำงานของกล้ามเนื้อนั้น จะมีเรื่องความสมดุลของสัญญาณไฟฟ้าและไอออนอยู่ด้วย ‘ภาวะขาดน้ำ’ จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงสัญญาณ ทำให้ร่างกายเราแยกไม่ออกว่าสัญญาณถูกส่งมาจากสมอง หรือว่าเกิดความไม่สมดุลของไฟฟ้าที่อยู่รอบเซลล์กันแน่ และเมื่อเกิดความสับสนขึ้น กล้ามเนื้อก็จะประมวลผลจากสัญญาณได้ยาก เมื่อเกิดการทำงานมากเกินไปจึงเกิดความเจ็บปวดขึ้นมา และวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือวิธีง่ายๆ อย่างการดื่มน้ำให้เพียงพอนี่ล่ะ
2. การอยู่ผิดท่านานมากเกินไป
การพักผ่อนในท่วงท่าสบายๆนานเกินไป อาจทำให้เกิดอาการตะคริวที่แขนหรือกล้ามเนื้อหลังได้ อ้างอิงข้อมูลจาก Houman Danesh มันเป็นเรื่องปกติที่กล้ามเนื้อจะเกิดการตึงเครียดเมื่ออยู่ในท่วงท่าใดๆนานเกินไป
“การทำในสิ่งที่ร่างกายไม่ได้รับการฝึกฝนให้ทำ จะทำให้เกิดการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องและเกิดการสลายตัวเล็กน้อย” การสลายตัวนี้แหละที่จะทำให้เกิดกรดแลคติกซึ่งสามารถทำให้กล้ามเนื้อกระตุกได้ โชคยังดีที่อาการตะคริวประเภทนี้จะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป ลองให้เวลามันสัก 1-2 ชั่วโมง แต่ถ้าหากว่ามีอาการตลอดทั้งคืนจนนอนไม่ได้ ก็ต้องไปหาหมอแล้วล่ะ
3. การกดทับเส้นประสาท
บางครั้งเราจะเรียกอาการนี้ว่า “ปลายประสาทอักเสบ” เกิดขึ้นจากปลายประสาทที่ลากลงมาจากสมองจนถึงไขสันหลังของเรา ไม่ว่าอะไรก็สามารถที่จะทำให้เรามีอาการปลายประสาทอักเสบได้ทั้งนั้น มีตั้งแต่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไปจนถึงโรคไขข้อหรือการที่เราอยู่ผิดท่านานๆ ซึ่งจะทำให้เส้นประสาทเกิดการระคายเคืองได้ (ควรหยุดการเล่นโยคะบางท่า หากร่างกายบอกเราว่าไม่ไหว) ยังดีที่ร่างกายนั้นมีระบบการซ่อมแซมตัวเองอันน่าทึ่ง โดยทั่วไปแล้วยาแก้อักเสบจะสามารถบรรเทาอาการปวดได้ แต่ถ้าหากว่ามันไม่ได้ผลล่ะก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์
4. การตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสามารถทำให้เกิดอาการตะคริวได้ อ้างอิงข้อมูลจาก Mayo Clinic อาการตะคริวนี้มักเกิดขึ้นที่บริเวณน่องหรือเท้า และมักเกิดขึ้นในตอนกลางคืนช่วงสามทุ่มถึงตีสาม ในตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เราสามารถบรรเทามันได้ด้วยการดื่มน้ำ , ยืดกล้ามเนื้อ , ทานอาหารเสริมแมกนีเซียม (ต้องถามหมอก่อนนะ!)
5. เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ
อีกหนึ่งเหตุผลที่มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริวคือ มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ หมายความว่าเรามีเลือดไปเลี้ยงแขนขาไม่เพียงพอ “โดยปกติแล้วมักเกิดจากการเพิ่มขึ้นของระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และอาจจะเกิดได้จากอาการหลอดเลือดแดงบีบตัว เพราะรังไข่หรือเนื้องอก”
Houman Danesh กล่าวว่า ผู้คนควรรู้จักสาเหตุของอาการตะคริวแบบนี้ให้มากขึ้น และถ้าหากว่าเรามีระดับคอเลสเตอลรอลในเลือดสูง ก็ควรที่จะไปพบแพทย์ เขายังกล่าวอีกด้วยว่า สำหรับนักวิ่งที่พบว่าตัวเองมักมีอาการตะคริวเป็นประจำ “และมักเกิดขึ้นในขณะที่วิ่งไปได้ไกลเท่าเดิมอยู่เสมอ (เช่นเป็นทุกครั้งที่วิ่งถึง 10 กม.)” นั่นอาจจะเป็นอาการ Compartment Syndrome ซึ่งสามารถขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
แหล่งที่มา : https://bit.ly/2lYP6iH
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
[AD]
แจกจริง แจกหนัก GARMIN, SUUNTO, FITBIT 122 วัน 122 เรือน
เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC คลิก bit.ly/ฺBNC122
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling#Triathlon#Swimming