[Review – On Foot] adidas Pure Boost DPR
เอาแบบ สั้นๆ ก็ sneaker runner คู่นี้ น่าสนใจ !!!
และ ที่แน่ๆ คือ สวยมาก !!!
☑ Sneaker & Runner รองเท้าวิ่ง รองเท้าเที่ยว คู่เดียวกัน
– บางคนเรียก ath-leisure (athletic & leisure) เราเรียก sneaker & runner แหละ เข้าใจง่ายดี
– คือ ใส่วิ่ง (เบาๆ) ได้ ใส่เล่น ก็สวย
– รุ่นนี้ อาดิดาส พยายาม โปรโมทว่า เหมาะกับ “street run”
☑ เป็นแค่ another Pure Boost ไหม
– Pure Boost เป็นรุ่นที่ (จับผลัด จับผลู) มาอยู่ในหมวด performance (running) ตั้งแต่รุ่น 1.0 ของมัน
– ซึ่ง เราไม่เคยมองแบบนั่นเลย มันเป็น sneaker ล้วนๆ วิ่งไม่ได้หรอก โฟม Boost นุ่มยวบ (นุ่มจริงๆ) ผ้า upper ย้วย ไม่กระเช้าเท้า
– รวมถึง Pure Boost ZG ที่เคยรีวิวไว้ก่อนหน้านี้ ว่าวิ่งจริงจัง ไม่ไหว https://goo.gl/WGVx9K
– รุ่นนี้ละ มาแนวเดียวกันไหม …
– คิดว่าไม่นะ … คู่นี้วิ่งได้ .. ได้มากสุดของ Pure Boost ด้วยกันละ
– จะว่าไป Pure Boost ที่เริ่ม วิ่งได้จริง น่าจะย้อนกลับไปนิด รุ่น Pure Boost 3.0 ที่ออกเมื่อต้นปี 2017
– outsole ในเว็ป adidas เรียกว่า Stretch Web ไม่ใช่ ยาง continental (แบบ Ultra Boost) แต่หน้าตาเหมือนเลย ไม่รู้จะทนแค่ไหน (เรามีประสบการณ์ไม่ดีกับ Stretch Web ของ Ultra Boost V1)
☑ Standard Fit
– ดูเฉยๆ จะเหมือนรองเท้ากว้าง
– ที่ดู กว้าง มาจาก พื้น Boost ช่วงหน้าเท้า ที่ป้านออก เป็นฐาน
– ใส่ดูแล้ว จริงๆ หน้าเท้า ก็กว้างกว่า รองเท้าวิ่งทั่วไปของ adidas (เช่น AdiZero Boston Boost) นิดนึง แต่ไม่ถึงกว้างมาก
– ช่วงกลางเท้า กับ ส้นเท้า นี่แอบเรียวนิดๆ
– heel counter ด้านนอกแค่ตกแต่ง & อัน internal ที่ซ่อนอยู่ แข็งดี ชอบ น่าจะไม่จำเป็นต้องใช้ runner loop และ เดาว่า ไม่น่าจะ ส้นหลุดเวลาวิ่ง (heel slip)
☑ ลิ้น & การร้อยเชือก
– ลิ้นทำด้วย วัสดุที่ดูเหมือนหนังกลับ บางมาก แทบไม่มี padding เลย และมีจุดยึดจุดเดียว คือด้านหน้า (ตรง vamp)
– น่าจะ โยก ซ้ายขวาน่าดู (tongue slide)
– เสียดาย น่าจะ ทำเป็น gusseted tongue คือยึดด้านข้างของลิ้น (มาสักครึ่ง ความยาวของลิ้น ก็ยังดี) ยิ่งถ้าเป็น spandex นะ แจ่มเลย (ลองดูของ New Balance Fresh Foam Zante V1)
– เชือกแบบแบน แบบ non-stretching (ค่อนข้างลื่น)
– รูร้อยเชือก มี ข้างละ 4 + runner loop
– จำนวนรู ข้างละ 4 นี่น้อยไป (กว่าที่เราชอบ) มันกระจายแรงกด ได้ไม่มาก รวมกับ ลิ้นที่บาง จะกดหลังเท้าเราพอดู แต่ก็ไม่แย่มาก
– แค่ถ้าเลือกได้ อยากได้ 5-7 รู/ข้าง + runner loop แบบ AdiZero Adios
– คู่ที่ลอง 9.5 US (9.0 UK) เชือกสั้น จน ผูก runner loop ไม่ได้ (ในรูปนี้ เป็น 10 US / 9.5 UK)
☑ Sizing = true to size
– บางโพย บอกว่า ควรลด 0.5 ไซส์ (เรื่องความยาว)
– เราว่าใส่ตรงไซส์ เหมาะแล้ว สำหรับ overall fit
– หรือ อยากขยับลง 0.5 ไซส์ เพื่อให้กระชับมากขึ้น เป็น snug fit ก็ยังพอได้ (ใครเท้าแบน กลางเท้าอาจจะรัดไป)
– ส่วนตัว อาจจะถึงขนาด ขยับขึ้น 0.5 ไซส์เลยด้วย ให้กลางเท้า & ส้นเท้า ไม่รัดไป ยอมเหลือหน้าเท้ามากหน่อย
– รุ่นนี้ ตามช็อป ของเยอะอยู่ แนะนำให้ไปลองดีกว่า เท้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน & ความชอบก็ไม่เหมือนกัน (และ quality control การผลิตก็ใช่ว่าจะเป๊ะ)
– ที่ชอบ คือ หน้าเท้า upper ไม่ตื้น เพราะมี toe bumper ที่มีโครงสร้างหน่อย จากผ้า upper ที่ถักแน่นกว่าส่วนอื่น + internal toe bumper ที่ซ่อนอยู่เนียนๆด้านในรองเท้า
☑ Non-stretch knitted upper
– ผ้าที่ใช้ เป็นผ้าถัก (adidas ไม่ได้เคลมว่าเป็น Prime Knit) ที่ไม่ยืดหยุ่น
– รู้สึกถึงความมั่นคงกว่า ผ้าที่ยืดหยุ่นได้ทั้งหมด (เช่น Ultra Boost) โดยเฉพาะ ช่วงกลางเท้า ที่เสริมด้วย โครง inner cage (น่าจะเป็นผ้า) ที่ด้านในรองเท้า เพิ่ม mid foot lock down
– น่าสนใจว่า ถ้าเฉพาะส่วนหน้าเท้า ผสมเส้นไย ที่ทำให้ยืดหยุ่นขึ้น ให้อิสระในการเคลื่อนไหวมากขึ้น –> ให้เป็นลูกผสมกลางเท้ามั่นคง หน้าเท้ายืดหยุ่น น่าจะดีขึ้นไปอีก
– ส่วนของ heel counter ที่ส้น มีก้อนๆ ที่มีไว้ เพื่อความสวยงามล้วนๆ
– heel counter ตัวจริง ถูกซ่อนไว้ในเนื้อผ้า มีความลึก และ firm กำลังดี
☑ Not all Boost are the same
– รู้กันใช่ไหม ว่า Boost เป็นชื่อ ที่อาดิดาส เรียก โฟม “ชนิดนี้” ที่เป็นเทคโนโลยี ของบริษัท BASF
– เป็นการเอาเม็ดพลาสติก มาทำให้บวมขึ้น เหมือนทำป็อปคอร์น (บางคนเรียก e-TPU หรือ expanded TPU)
– Boost = ชื่อของ ชนิดของโฟม “ชนิดนี้”
– คุณสมบัติ ของ Boost แต่ละรุ่น ก็จะไม่เหมือนกัน เช่น นุ่มไม่เท่ากัน เด้งไม่เท่ากัน
– ใครเคยลองใส่ Ultra Boost และ NMD นี่จะเห็นชัดเลย ชัดว่า โฟม Boost ของ NMD เด้ง และตอบสนอง น้อยกว่า “อย่างชัดเจน”
– โฟม Boost ของรุ่นนี้ เอนมาทาง NMD มากกว่า Ultra Boost
– ไม่ใช่ว่าไม่ดี แค่มันแตกต่างกัน คือ ถ้าอยากเลือก หนานุ่ม ก็ไปทาง Ultra Boost เลย
– โฟม midsole มีโค้งรับกับอุ้งเท้าให้ มี arch support นิดๆ ไม่มากไป (ไม่มี medial post)
☑ No Torsion
– Pure Boost (รวมถึง รุ่นนี้ด้วย) จะไม่มี torsion นะ
– torsion จะมีในรุ่น ที่วิ่งจริงจัง อย่าง Ultra Boost / Boston / Adios Boost
– มันเหมือนเป็น “โครง” ของพื้น และ ช่วยให้ พื้น มีทรงบ้าง ไม่ทรุด
– ยิ่ง รุ่นที่เน้นทำความเร็ว อย่าง Adios โครงของ torsion จะยืดไปจนถึงหน้าเท้า ทำหน้าที่เป็น เหมือน speedboard ด้วย (ใครมี Adios ลองดัดรองเท้าดู จะเด้งคืนได้ดีกว่า)
☑ Light weight
– น้ำหนัก ค่อนข้าง เบา
– 9 ออนซ์ (255 กรัม) นี่จะใกล้เคียง Boston (กลุ่ม training / racing)
– เบากว่า กลุ่ม training เช่น Ultra Boost (11 ออนซ์) และ Ultra Boost Uncaged (10 ออนซ์)
– และ เบากว่า Pure Boost 3.0 (10 ออนซ์)
– หนักกว่า กลุ่ม racing เช่น Adios Boost (8 ออนซ์)
– ส่วนตัว อะไร ต่ำกว่า 10 ออนซ์ ก็ถือว่าไม่หนักแล้ว // ต่ำกว่า 8 ออนซ์ นี่ถือว่าเบา ถึง เบามาก
☑ DPR ย่อมาจาก Deeper
– คือ ให้ใกล้กับพื้นมากกว่าเดิม (รถโหลด)
– ให้เห็นชัด ว่า low profile ก็ให้เทียบกับ Pure Boost หรือ กลุ่มวิ่งจริงจัง อย่าง Ultra Boost, AdiZero Boston
– จะมีก็แค่ AdiZero Adios ที่เป็นสาย racing ที่จะใกล้เคียงกัน
– โฟม Boost ตรงหน้าเท้า หนาพอควร + กว้าง & ป้าน ออก ชอบ เหมาะกับ คนลงหน้าเท้า (เดาว่า heel drop ไม่ถึง 10 มม)
– ลองเปรียบเทียบความหนาของโฟมดู (หน้าเท้า/ส้นเท้า)
Pure Boost DPR = 16/24 mm
Pure Boost = 18/26 mm
Ultra Boost = 19/29 mm
Ultra Boost Uncaged = 19/29 mm
AdiZero Adios = 17/27 mm
AdiZero Boston = 19/29 mm
– ส่วนตัวเราชอบ เทียบความหนาตรงหน้าเท้า ด้วยความที่วิ่งลงหน้าเท้ามากกว่า
– บางคนที่ลงส้น อาจจะอยากเทียบความหนาตรงส้น
☑ วิ่ง street run ได้ (?)
– ได้แหละ 10 กม ชิลๆ
– ธรรมชาติของ city run มันไม่ได้ เร่งความเร็วแช่อยู่แล้วด้วย
– พื้นโดยเฉพาะ หน้าเท้า มีฐานกว้างดี ช่วยเลย เลี้ยวกระทันหันได้ดี (นึกถึง วิ่งเทรล)
– heel drop 8 มม เสริมส่วนนี้ได้ ลงหน้าเท้าได้ง่ายขึ้น (ปรกติ อาดิดาส จะเป็น 10 มม ยกเว้น Takumi ที่จะเป็น 6 มม & Pure Boost ที่เป็น 8 มม)
– ที่ข้องใจคือ ลิ้นรองเท้า ทำจาก วัสดุที่ดูเหมือนหนังกลับ จะเหมาะกับการลุยถนนเมืองไทย ทำน้ำนอง / ฝนตก แค่ไหน
สรุป
– เป็น sneaker runner ที่สวยมาก ชอบ !! โดยเฉพาะสีเทา
– วิ่งได้ พอประมาณ สำหรับคนที่ไม่ได้วิ่งจริงจังมาก ไม่เกิน 10กม โอเคเลย
– ใครซ้อมวิ่งจริงจัง แนะนำ รุ่นที่ออกแบบให้วิ่งจริงจังดีกว่า เช่น AdiZero Boston (รุ่นไหน ต่างกันยังไง ลองดูที่ https://goo.gl/L08jxx)
– น่าจะวิ่งสนุกกว่า Pure Boost รุ่นธรรมดา ถึงจะพื้นบางกว่า
– ตั้งราคาไว้ 5,990 บาท สูงกว่า Pure Boost รุ่นธรรมดา (5,290 บาท) อาจทำให้คนลังเล
– ยิ่งเทียบกับ Nike Flyknit Racer ที่ราคาป้ายอยู่ 5,500 บาท ที่ตอนนี้ เมืองไทยก็ไม่ได้หายาก/ราคาสูงเหมือนเมื่อก่อนแล้ว ผู้บริโภค คงคิดหนักหน่อย
หมายเหตุ
1) ผู้ลอง เท้ากว้าง 2E/4E บาน และ แบน
2) ปรกติ ใส่รองเท้าส่วนใหญ่ ตรงไซส์ คือ 9.5 US / 27.5 cm
3) รองเท้าในรูป ไม่ใช่ sample จาก adidas
4) ข้อมูลจาก การลองใส่ในร้าน ยังไม่ได้ลองวิ่ง (ยังไม่มีด้วย)
adidas Running