[รีวิว] adidas Pure Boost ZG Prime Knit
อาดิดาส บอก:
“รองเท้าเที่ยว รองเท้าวิ่งคู่เดียวกัน”
“Zero Gravity”
—–
วิ่ง: easy / city run
ระยะทาง: ครั้งละ 10 กม รวมระยะราว 40 กม
อุณหภูมิ: แห้ง 30-33C (กทม) และ 12-15C (Melbourne)
ยกเว้น 1 หน ที่ฝนตกปรอยๆ วิ่งไป 5 กม
พื้นผิว: ฟุตบาทคอนกรีต / ถนนลาดยาง / dirt road (ถนนดินอัดแน่น โรยกรวด)
ไซส์: 7.5 UK / 8.0 US / 26.0 cm
น้ำหนัก: 8.5 ออนซ์ / 240 กรัม
—–
Sizing ไซส์ก่อนเลย
Pure Boost ZG Prime เป็นแบบถุงเท้ารัดรูป คือสวมเข้าไปได้เลย
ผมเท้า ยาว25.0 ซม กว้าง 2E-4E วัดโดย foot ID ของ Asics
ปรกติผมใส่ รองเท้า 80% ของผม ไซส์ 26.5 cm แล้วเทียบ ไซส์เอาจากตารางของยี่ห้อนั้นๆ
– อาดิดาส ก็จะเป็น 8.0 UK (8.5 US) เช่น Adios Boost, Prime Boost
– ไนกี้ ก็จะเป็น 8.5 US เช่น Zoom Structure
– Asics ก็จะเป็น 8.5 US เช่น Nimbus, Hyperspeed, Sortie Magic
– ยี่ห้อที่ mainstream น้อยกว่า ก็เช่นกัน ไม่ว่าจะ Newton, Altra, Hoka One One, New Balance (อาจจะ ต้องเลือกหน้ากว้าง 2E แต่ความยาว 26.5 cm จะพอดี)
จะมีบางรุ่น บางยี่ห้อเท่านั้น ที่ผมต้อง ขยับไซส์ เช่น
Nike Flyknit Racer ผม ขยับขึ้น 1/2 ไซส์
Nike Flyknit Lunar 3 ผม ขยับขึ้น 1/2 ครึ่งไซส์
Adidas Cosmic Boost ผมขยับขึ้น 1 ไซส์
Pure Boost ZG Prime มาอีกแนว ผมกลับต้อง ขยับลง จาก 8.0 UK (8.5 US) มาเป็น 7.5 UK (8.0 US) ลอง 8.0 UK แล้ว เหลือกลางเท้า (midfoot) เหลือส้นเท้า เหลือความยาว ลองรัดเชือกให้แน่น กลางเป็น ยาง(สีเทา)ที่ว่ากันว่าทำให้กระชับ mid foot จนย่น ก็ไม่ทำให้รู้สึกพอดี เลยต้องลดไซส์ลงมาเป็น 7.5 UK (8.0 US) จึงพอใส่ได้
รึเป็น ปัญหาความคงเส้นคงวาของการผลิต (manufacturing tolerance) นะ
เคยสังเกตไหม กล่องเดียวกัน
– พอดีไม่เท่ากัน (ไม่รวมคนที่เท้าไม่เท่ากันนะ)
– เชือกยาว ไม่เท่ากัน
– ซ้ายขวา หนักไม่เท่ากัน
หลังๆ อาดิอาส ทำได้น่าผิดหวัง ด้านนี้ (Quality Control)
แก้ไข เพิ่มเติม: 2 เดือนผ่านไป ตอนนี้มีคู่ที่2แล้ว (คนละสี) เลือกไซส์ 8.0 UK (8.5 US) มา ก็ใส่ได้ดีในแง่เป็น sneakers (รองเท้าใส่เล่น) ถึงยัง ถ้าวิ่ง ไซส์ 7.5 UK ก็มี heel slip อยู่ดี
——
Upper (ผ้าที่ห่อเท้าเรา)
ทำจาก ผ้าถัก ที่อาดิดาส เรียกว่า Prime Knit
แนวเดียวกันกับ Nike มี Flyknit (ที่เคยซัดกันนัว ว่าใครก๊อบใคร)
ข้อสังเกต: ผ้าถักเป็นชื่อชนิดนะ คือถ้าถักก็ PrimeKnit ไม่ได้แปลว่า PrimeKnit ต้องเหมือนกันทุกรุ่นนะ บางรุ่นถักให้ถี่ บางรุ่นใช้ด้ายผ้ายืดมาถัก
รุ่นนี้ ใช้ด้ายยืดหยุ่น และค่อนข้างหนา บริเวณหน้าเท้า และ กลางเท้า (คล้ายกับ Ultra Boost)
เหมือนใส่เสื้อรัดกล้ามเนื้อ ผ้ายืดแบบหนาๆ ถักจากผ้าไหมพรม ถักแน่นๆ ก็ยืดดี แต่หนา
ผลคือ
– ยืดหยุ่น ขึ้นลง ซ้ายขวา ครบ
– ไม่ระบาย อากาศ
– เหม็น (จากรองเท้าที่มี ปัจจุบัน ราว 20คู่ และ ปีที่ผ่านมาร่วม 30 กว่าคู่ นี่เป็น 1 ใน 2-3 คู่ที่เท้าผมเหม็น)
Midfoot มี ยางยืด (sales บอกไว้รัดให้อุ้งเท้ากระชับ) กับ ที่ร้อยเชือก
สั้นๆ คือ มันไม่ตอบโจทย์หน้าที่ของมัน
Midfoot security (ความกระชับอุ้งเท้า/กลางเท้า) ไม่หลวมไป ก็แน่นไปแต่ไม่กระชับ
ส่งผลถึง เวลาลงเท้า หน้าเท้าเรา ลื่น/โยก ซ้ายขวาเลย
(ผมลงเท้า ไม่ดี มีอาการข้อเท้าสะบัดด้วย ยิ่งทำให้ตรงนี้ชัดมาก)
Volume หรือ ความสูง ภายในรองเท้า ช่วงหน้าเท้า-กลางเท้า
ข้อนี้ คนชอบไม่พูดถึงกัน ทั้งที่จริงๆ ส่งผลมาก กับคำว่า พอดี (fit)
ใครใส่ Ultra Boost ลองสักเกตดู มันเพดานต่ำ เดาว่า เค้าตั้งใจให้รัดเท้าสุดๆ
ส่วน Ultra Boost ST นั่นก็เพดานสูง สูงไล่มาตั้งแต่ toe bumper (ด้านหน้านิ้วเท้า) เลย
รุ่นนี้ แนวกลางๆ
จุดสังเกตเล็กๆ
– รุ่นนี้ น่าจะสร้างจากทรงเท้า (last) ที่โค้งเข้าใน
– รุ่นเด็ก ชื่อ Pure Boost ZG J กับ รุ่น Pure Boost ZG (ไม่มีคำว่า Prime) จะใช้ผ้า mesh ยืดๆ แล้ว ลงสีด้วย Heat bonded overlay ให้ดูเสมือนเป็น ผ้าถัก PrimeKnit (ดูตัวอย่างในโพสต์ เก่า)
กลับมากลางเท้านิด
เทียบกับ Ultra Boost ที่มีกรงทำจากพลาสติก ที่ส่วนตัวว่ากระด้างและดันเท้าจนเจ็บ
รุ่นนี้ปรับปรุงได้ดีขึ้นนะ อย่างน้อย ก็เอากรงแข็งๆ หนักๆ ที่กระชับ อุ้งเท้าไม่ได้ นั่นออกไป
ส้นเท้า
– ตัวผ้ายังคงแบบ เหมือน Ultra Boost คือ มีจะงอนออก โดยบอกว่าจะได้ไม่เสียดสีเอ็นร้อยหวาย ส่งผลให้ ค่อนข้างตื้น
– Heel counter หรือ ไอ้แข็งๆ ทีหุ้มรอบส้นเท้า
Ultra Boost เป็นพลาสติกแข็งๆ มีร่องตรงเอ็นร้อยหวาย (อีกละ) กระด้างๆ แถมล็อคให้ส้นเท้ากระชับกับรองเท้า ได้ไม่ดี
Pure Boost ZG Prime เปลี่ยน design นุ่มขึ้น ไม่เว้นตรงเอ็นร้อยหวายละ
ผลล่ะ พอกัน ล็อคส้นเท้าไม่อยู่ วิ่งๆไป กังวลไป ว่าจะหลุดส้น (heel slip)
แผ่นรอง รองเท้า (insole) ดูเหมือนทำจาก EVA นุ่มๆ เสริมจาก รุ่น Pure Boost ปรกติ ที่จะเป็นผ้าตาข่ายบางๆรู้กว้างๆเลย ให้เท้าเราติดกับโฟม Boost ที่สุด
——
Midsole (พื้นรองเท้าส่วนกลาง)
ส่วนนี้คล้าย Ultra Boost คือ รวม outsole หนาที่หน้าเท้า 20 มม และที่ส้นเท้า 30 มม จะได้ heel drop = 10 มม
Stack height = ความหนาของพื้น
Heel drop = ส้นสูงกว่าหน้าเท้าเท่าไร
เป็น heel drop 10 มม ที่แปลก คือมันรู้สึกเอียงมากกว่า รองเท้าอื่น ที่ ิซม เท่ากัน เช่น Nike Flyknit Lunar 3, Adidas Prime Boost หรือกระทั่งรุ่นสถิติโลกอย่าง Adidas Adios Boost 2
จุดนี้เหมือน Ultra Boost คือ เท้าเหมือนจะไหล ไปกอง ที่หน้าเท้าตลอด ต้องเกร็งจิกนิ้ว (สัญชาตญาน) ลงบนพื้นรองเท้า
(Ultra Boost ST มี stack height 24/32 มม และ heel drop 8 มม จึงเอียงน้อยกว่า)
—–
Outsole (พื้นด้านนอก)
อาดิดาสบอกมันคือ stretch web
คำนี้เริ่มใช้ตอน Ultra Boost OG (original) เป็นแผ่นยางตาข่ายบางๆ (1-2 มม) จะได้ยืดซ้ายขวาหน้าหลังได้
– ตอน Ultra Boost OG จุดนี้ เป็นหนึ่งในหลายจุดที่น่าผิดหวังมาก ลื่นมาก (เจอกับตัว ลื่นหงายหลัง พื้นกระเบื้อง น้ำนอง)
– Ultra Boost รุ่นถัดมาเลยเปลี่ยนเลย เป็นยาง continental (คล้ายของรุ่น Boston Boost ที่ออกมาก่อน)
– มารุ่น Pure Boost ZG นี่ไม่ใช่แผ่นยางบางๆแล้ว เป็น โฟม EVA (น่าจะเป็น outsole grade คือ ทนหน่อย) ขึ้นรูปมาเป็นเหมือนขนมวาฟเฟิล (ตาข่าย ตาใหญ่ๆ) หนาราว 12 มม ไม่นุ่มนะ
– EVA น่าจะเบากว่า Boost ที่เป็น TPU แถมโบ๋ๆ เป็นตาข่าย น่าจะทำให้ เซฟน้ำหนักไปได้พอควร
– ส่วนจะยืดหยุ่นรึเปล่า นั่นซิ
– ไม่ลื่น ผ่าน ได้ลองแล้ว (เสียวเหมือนกัน) วันที่ฝนตกพร่ำๆ วิ่งไป 5 กม ทั้งพื้นถนนลาดยาง ฟุตบาทคอนกรีต หญ้า สะพานไม้ กระเบื้อง
—–
Stability
– รองเท้าวิ่ง บางรุ่น ที่เน้นให้ “เร่งขึ้น” จะมีโครงสร้าง ให้พื้นโฟม จะได้ทรงรูปได้ และช่วงดีดกลับ ตอน loading ต่อมาที่ windlass และ toe off
– โดยเฉพาะ รุ่นที่ใช้โฟมนิ่ม
– ตัวอย่าง เช่น On The Cloud พื้นนุ่ม ดูใต้ insloe จะเห็น ผ้าขาวๆ (fabric stroble) ใต้นั้นจะมี speed frame ทำจากพลาสติกบางๆเสริมโครง ลองดัดรองเท้าดู มันจะดีดกลับ ของ On The Cloud นี่ ดีดกลับ 3 แนวเลย (ขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา ทแยงมุม)
– อีกตัวอย่าง Adidas Adios Boost ไม่ว่าจะ 2 หรือ 3 ใช้ torsion system แผ่นพลาสติกรูปเกือกม้า2อันก้นชนกัน (นึกถึงโลโก้ Under Armour แนวนอน) วางเลาะตามขอบพื้น อยู่ระหว่าง Boost กับ แผ่นยาง outsole
– Pure Boost ZG Prime ไม่มีตรงนี้ ลงเท้าไป โฟมที่นุ่มๆ งอไปทางไหน ก็คืนตัวช้า จุดนี้เหมือนกันกับ Adidas Ultra Boost และ Nike Flyknit Lunar 3
—-
Ride เออ แล้วตอนวิ่งล่ะ รู้สึกยังไง
1) เสียงดัง
ลงเท้าเสียงดัง ดังแบบแน่นๆด้วย
คาดว่ามาจาก ground feel ที่ไม่เหลือเลย จากพื้นแบบหนานุ่ม
ทั้งนี้ พื้นหนานุ่ม บางแบบ ก็วิ่งแล้วลงเท้าเงียบได้นะ เช่น Hoka One One Clifton หนา นุ่ม เว่อๆ ด้วยทรงของพื้นเป็น rocker shape ทำให้ลงเท้าจะแนวกลิ้งเท้ามากกว่า
2) พื้น Boost นิ่มยวบ + แผ่นรอง insole ทำจาก EVA นิ่มๆ + heel drop ที่ทำให้หน้าทิ่ม
–> นิ้วเท้าจะไหลไปข้างหน้า และจิกเกร็ง ตลอด
–> ลงเท้าไป มันจม ต้องส่งเองเยอะพอตัว ช่วง toe off
3) รู้สึกเหมือน จะล็อค”ส้น”ไม่อยู่ เหมือนจะหลุดส้น (heel slip) ตลอด
4) กลางเท้า ไม่แน่นไป ก็หลวมไป
5) หน้าเท้า โยกไป ซ้าย-ขวา ต้องจิกเท้า เพิ่มไปอีก เอ๊า เท้าหงิกเลย
6) เบา แต่ไม่ช่วยอะไรเพราะ ข้ออื่นๆ ไม่ได้เสริมให้วิ่งได้ระยะยาวจน น้ำหนักเบา จะเป็นปัจจัยบวกอะไร
7) เท้าเหงื่อชุ่มเลย
8) ท่าวิ่ง จากที่ลงหน้าเท้าแล้ว ปล่อยให้ส้นเท้าลงแตะพื้น แล้วไปต่อ (ใช้ elastic recoil ของกล้ามเนื้อ และเอ็น ด้านหลังของขา พวก เอ็นร้อยหวาย น่อง แฮมสตริง เป็นตัวส่งโดยธรรมชาติ) ด้วย heel drop ที่ค่อนมาทางสูง เลยต้องปรับลงเท้าเต็มเท้าแทน
—–
สรุป Conclusions
1) เป็นทางเลือกที่ดี ของคนที่ดู Ulta Boost อยู่
Pure Boost ZG Prime เบากว่าเยอะ (>20%) ถูกกว่าแยะ (2,000บาท) โดยไม่ได้มีข้อที่ด้อยกว่าที่เห็นได้ชัด
ส่วนใครไม่เคยลอง แนะนำให้ลองเองก่อนตัวสินใจ ชอบ ไม่ชอบ อีกเรื่องนึง
2) “Zero Gravity”
ก็เหมือนลอยๆ จริงแหละ (แถมหน้าทิ่มให้ด้วย) ไม่แน่ใจ ว่าแล้วไงต่อ
3) “รองเท้าเที่ยว รองเท้าวิ่งคู่เดียวกัน”
ใส่เที่ยวดีเลย สวยดี ยิ่งตอนเดินทาง ถอดเข้าออกง่ายดี ชอบ
วิ่งได้ไหม ส่วนตัวคงไม่ใส่วิ่งแล้ว
4) อบ ไม่ระบาย เรื่องนี้ ไม่บ่อยจะเอามาอยู่รวมในหัวข้อตอนสรุป เคสนี้จำเป็น
แฟนถึงขั้นบอก คู่นี้ถ้าแอบนัดสาว ด้วยความหวังดี บอกเลยว่าให้ใส่คู่อื่นไปนะ
ใครไม่ใส่ถุงเท้า คู่นี้ให้ข้ามได้เลย
(แนะนำให้เอา insole ออกมาซักบ่อยๆ ฉีดด้วยสเปรย์ฉีดรองเท้า anti-bacteria)
—–
มีใครอ่านจบไหม แฮ่
—–
ใครลังเลอยู่ว่าอยากลอง เชียร์ให้ลองเลย
แสดงว่ามีจุดที่ชอบจากที่อาดิดาสโฆษณาอยู่เป็นทุนแล้ว
ผมก็ชอบ ไม่งั้นคงไม่ซื้อมา
ที่มีปัจจัยหลากหลาย เท้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน ความพอดี ความชอบส่วนตัว ความต้องการ ล้วนไม่เหมือนกัน บางอย่างที่ผมไม่ชอบ (ไม่ชอบ นี่ไม่เหมือน ไม่ดี นะ) คนอื่นอาจจะชอบก็ได้
ยิ่งถ้าอยู่เมืองใหญ่ มีร้านที่ให้ลองวิ่งได้ ลองเลยครับ ถ้าชอบแล้ว ได้ไซส์แล้ว ลองไซส์นั้นหลายๆคู่ที่ร้านมี บ่อยไปที่ผลิตมาไม่เท่ากัน ถึงจะรุ่นเดียวกัน พอได้คู่ที่พอดีจนพอใจแล้ว ลองวิ่งเลย ใส่เดินไม่รู้หรอกว่าส้นมันจะหลุดไหม หน้าเท้าเลื่อนไหม
—-
ใครไปลอง ส่งข่าวกันด้วย
วิ่งให้สนุกครับ
adidas Running