การออกกำลังกายเป็นประจำท่ามกลางมลพิษทางอากาศสูง จะส่งผลดีต่อสุขภาพได้อย่างไร
การออกกำลังกายด้วยการวิ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมทั้งช่วยในการลดความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง แต่การออกกำลังกายในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง ย่อมมีผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ เช่น การเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง
การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Circulation พบว่า การออกกำลังกายเป็นประจำแม้ในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศสูงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลสุขภาพของผู้คนกว่า 140,000 คนที่อาศัยอยู่ในไต้หวันและมีค่าดัชนีคุณภาพอากาศ 5.7-50.3 μg / m 3 โดยดูจากรายงานข้อมูลการออกกำลังกายซึ่งวัดด้วยค่าการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย (METs) เฉลี่ย 5 ปี พบว่าผู้ที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดมีความเสี่ยงต่ำที่สุดในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้คนเหล่านี้ไม่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก่อนหน้านี้
การศึกษาพบว่า (1) การเพิ่มขึ้นของระดับมลพิษทางอากาศในแต่ละที่ มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่สูงขึ้น 38 เปอร์เซ็นต์ (2) ในขณะที่การออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ (3) ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายในระดับปานกลาง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายร้อยละ 4 และ (4) ผู้ที่ออกกำลังกายระดับสูง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายร้อยละ 13 ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายยังคงมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจแม้ว่าจะเป็นการออกกำลังกายท่ามกลางมลพิษทางอากาศก็ตาม
ดังนั้น หากผู้คนสามารถเพิ่มการออกกำลังกายจากระดับปานกลางไปสู่ระดับสูงได้ เราจะเห็นความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงลดลงอีก 6 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่า “การออกกำลังกายเป็นประจำท่ามกลางมลพิษทางอากาศสูง” จะปลอดภัยหรือไม่ แต่จากการศึกษานี้ได้ข้อสรุปว่า คนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อยกว่า 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ควรจะปลอดภัย
การออกกำลังกายช่วยเพิ่มอัตราการหายใจ แต่ก็อาจทำให้อากาศเสียเข้าไปมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อออกกำลังกายกลางแจ้งในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงเป็นระยะเวลานาน ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ และอาจทำให้ผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพรุนแรงขึ้น
แต่การออกกำลังกายก็สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นเดียวกัน เพียงแค่ต้องระวังเรื่องค่าระดับมลพิษทางอากาศในพื้นที่ที่ออกกำลังกาย
คำแนะนำในการออกกำลังกายในภาวะที่มีมลพิษทางอากาศ
ให้ตรวจเช็คสภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านช่องทางต่างๆ เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น AirVisual โดยหากตรวจสอบดัชนีคุณภาพอากาศภายนอก (AQI) วัดได้มากกว่า 150 ก็ควรงดการออกกำลังกายกลางแจ้งหรือเข้ายิมแทน แต่ถ้าหากมีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด หรือปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบหายใจอื่นๆ ก็ไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้งที่วัดค่า AQI ได้เกิน 100 และในขณะวิ่งออกกำลังกายให้สังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น หายใจถี่ ไอ หรือระคายคอ ถ้ามีอาการเหล่านี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่พิษโดยเร็ว
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming