การวิ่งและการออกกำลังกายอื่นๆ สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้หรือไม่?
ในขณะที่ทั่วโลกอยู่ในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา ส่งผลให้พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้คนต้องเปลี่ยนตามไปด้วย สถานการณ์เช่นนี้ทำให้มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านออกมาให้คำแนะนำว่า การกินอาหารที่ดีมีสารอาหารครบหมู่ ควบคู่กับการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ และการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้และช่วยให้อารมณ์สดชื่นแจ่มใสได้อีกด้วย คำแนะนำที่ได้ยินกันแพร่หลายเหล่านี้มีข้อเท็จจริงอย่างไร เชื่อถือได้แค่ไหน วันนี้มาหาคำตอบกันว่า การวิ่งและการออกกำลังกายอื่นๆ สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้หรือไม่?
จากการศึกษาในปี 2014 พบว่า นักกีฬาที่มีปริมาณการฝึกซ้อมสูงมีแนวโน้มที่จะป่วยน้อยมากเมื่อดูจากจำนวนวันที่พวกเขาเจ็บป่วย นอกจากนี้การศึกษาใหม่ล่าสุดยังมีรายงานว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (เช่น การวิ่ง) ช่วยปรับปรุงการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านทาน (เช่น การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ)
“โดยทั่วไปแล้วการออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางเป็นเวลา 45 นาที จะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันได้” กล่าวโดย John P. Higgins, MD ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจด้านกีฬาที่ได้รับการรับรองจากคณะแพทยศาสตร์ McGovern Medical School ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยเท็กซัสของฮูสตัน
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะการออกกำลังกายในปริมาณดังกล่าว
สามารถเพิ่มระดับการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันได้ ปรับปรุงระดับฮอร์โมนความเครียด และเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายที่อาจฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่เป็นอันตรายได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตามมีข้อเสนอแนะว่า การออกกำลังกายอย่างหนักเกินไป อาจส่งผลต่อร่างกายในทางตรงกันข้ามได้
ซึ่งจุดนี้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่า ทำไมนักวิ่งหลายคนจึงรู้สึกร่างกายอ่อนแอและอ่อนเพลียอยู่หลายวัน
หลังจากการวิ่งมาราธอนด้วยความพยายามอย่างหนัก
“การออกกำลังกายมากเกินไปและได้รับการฟื้นฟูไม่เพียงพอ หรือการเพิ่มปริมาณการออกกำลังกายที่เร็วเกินไป ส่งผลเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลง” Higgins กล่าว
นอกจากนี้เขายังให้คำแนะนำการออกกำลังกายในช่วงที่ COVID-19 ระบาดไว้ด้วยว่า ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ เพื่อรักษาสุขภาพให้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจะได้หลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยต่างๆ แต่ยังคงแนะนำให้ออกกำลังกายทุกวัน โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ที่ใช้เวลา 20-45 นาทีต่อวัน โดยผสมการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ดังนี้
- เดินเร็ว / วิ่ง / จ๊อกกิ้ง 3-5 วันต่อสัปดาห์
- ปั่นจักรยาน / pushups / sit-ups / ออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านทาน 2 วันต่อสัปดาห์
- โยคะ / ยืดเหยียด 1 วันต่อสัปดาห์
- หรือจะออกกำลังกายแบบ HIIT 15-30 นาทีก็ได้
- แต่ถ้าเลือกที่จะวิ่งแบบ long run ที่เกิน 90 นาที จะต้องให้ร่างกายได้พักหลังจากการวิ่งเป็นเวลา 2 วัน เพื่อฟื้นฟูตัวเอง
แต่กิจกรรมการออกกำลังกายทั้งหมดนี้ ทุกคนควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้คน รักษาระยะห่าง 2 เมตร ซึ่งฟังดูเป็นเรื่องยากถ้าเราออกกำลังกายกลางแจ้งหรืออยู่ในสถานที่สาธารณะ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกายอยู่ภายในบ้านของตัวเอง (เช่น ลู่วิ่งที่บ้าน) หลีกเลี่ยงโรงยิมหรือสวนสาธารณะที่มีผู้คนแออัดและต้องใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและการติดเชื้อที่รุนแรง
ที่มา : https://bit.ly/34rVL7r
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming