Dehydration (ภาวะขาดน้ำ) หรือ Hyponatremia (ภาวะน้ำเกิน) 2 เรื่องต้องรู้สำหรับนักกีฬาทุกคน
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา การดื่มน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิตมาก เพราะน้ำจะช่วยทำให้เนื้อเยื่อและอวัยวะชุ่มชื้น (เช่น ดวงตา หรือปาก), หล่อลื่นข้อต่อ, ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้สมดุล และอื่นๆอีกมากมาย แต่สำหรับนักไตรกีฬาหรือนักวิ่งนั้นการกินน้ำน้อยหรือมากเกินไป จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อ Dehydration (ภาวะขาดน้ำ) หรือ Hyponatremia (ภาวะน้ำเกิน)
ในชีวิตประจำของมนุษย์ เราสูญเสียน้ำจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การหายใจ, เหงื่อออก, ปัสสาวะ และการเติมน้ำเหล่านั้นกลับสู่ร่างกายนับเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งหากนักไตรกีฬาหรือนักวิ่งขาดน้ำระหว่างการแข่งขัน จะทำให้เรารีดพลังของเราออกมาได้ไม่เต็มที่อย่างแน่นอน โดยปกติผู้ชายต้องการน้ำประมาณ 3 ลิตร (13 แก้ว) และผู้หญิงต้องการน้ำประมาณ 2.2ลิตร (9แก้ว) ต่อวัน โดยนับรวมเครื่องดื่ม เช่น ชา, กาแฟ หรือน้ำอัดลมด้วย
ออกกำลังกายเท่านี้ ต้องการน้ำประเภทไหน… แน่นอนว่าการออกกำลังกายทำให้เราสูญเสียน้ำ ถ้าคุณออกกำลังกายไม่ถึง 1 ชั่วโมง ดื่มเพียงน้ำเปล่าก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากคุณออกกำลังกายนานกว่านั้น คุณจะต้องดื่มน้ำที่ผสมเกลือแร่ และคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำตาลด้วย หรือที่เรียกว่า Sport drink นั่นเอง และถ้าหากคุณวิ่งหรือแข่งในวันที่อากาศร้อนมากๆ และเหงื่อออกมาก คุณก็ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Sodium ด้วย
ต้องดื่มน้ำมากแค่ไหนถึงเพียงพอ… เป้าหมายของการดื่มน้ำระหว่างการแข่งขันหรือออกกำลังกายคือ ต้องระวังไม่ให้เกิด ภาวะขาดน้ำ หรือ ภาวะน้ำเกิน
Dehydration คือ ภาวะที่สูญเสียน้ำมากเกินไปและไม่ได้รับการดื่มทดแทนเพียงพอ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของการออกกำลังลดลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อ Heat stroke
Hypernatremia คือ ภาวะที่ดื่มน้ำมากเกินไปจนทำให้ปริมาณโซเดียมในเลือดเจือจางลง ซึ่งภาวะ Hypernatremia เป็นอันตรายต่อร่างกายมากกว่า เช่น อาการคลื่นไส้, อาเจียน, เวียนหัว, และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หยุดหายใจทันทีจนอาจเสียชีวิตได้
ภาวะ Dehydration เกิดในนักกีฬาบ่อยกว่าแต่ภาวะ Hypernatremia เป็นอันตรายมากกว่า ดังนั้นนักกีฬาจึงต้องหาสมดุลในการดื่มน้ำเพื่อทำให้ร่างกายพร้อมที่สุดในการแข่งตลอดการรายการ ซึ่งทำได้ 2 วิธี ดังนี้
- Sweat test – ระหว่างการฝึกซ้อมก่อนลงแข่งจริง เราอาจลองทดสอบหาปริมาณเหงื่อที่สูญเสียไป โดยชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการซ้อม และจดบันทึกปริมาณน้ำที่ดื่มตลอดการฝึกซ้อม ถ้าน้ำหนักคุณเพิ่มขึ้น แปลว่าคุณดื่มน้ำมากเกินไป และหากน้ำหนักลดลงมากกว่า 2-3% แปลว่าคุณต้องดื่มน้ำมากกว่านี้ แต่หากน้ำหนักลดลงไม่เกิน 2% นั่นแปลคุณดื่มน้ำกำลังดีแล้ว
- สังเกตอาการร่างกาย เมื่อวิ่งไปนานๆแล้วรู้สึกกระหาย, คอแห้งหรือริมฝีปากแห้ง นั่นหมายถึงร่างกายต้องการน้ำแล้ว แต่วิธีนี้บอกได้แค่คร่าวๆเท่านั้น และถ้ารู้สึกว่าต้องการน้ำระหว่างการแข่งขันแต่ใกล้ๆนี้ไม่มีสถานีให้ได้ดื่มน้ำ ก็อาจเป็นปัญหาต่อร่างกายได้
ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ทำ Sweat test จะดีกว่า เพราะเราจะรู้ปริมาณน้ำที่แน่นอนที่ต้องดื่มในการแข่งขัน ซึ่งหมายความว่าเราสามารถพกขวดน้ำเล็กๆไประหว่างการแข่งขันเพื่อให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมกับเรา หรือเราอาจวางแผนการดื่มน้ำก่อนการแข่งขันก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ให้สังเกตร่างกายตัวเองตลอดเวลาด้วย
[AD]
?บัตรเครดิต KTC ตัวจริงเรื่องกีฬา
แลกรับส่วนลดเพิ่มสูงสุด 15% พร้อมแบ่งชำระ 0%
นานสูงสุด 10 เดือน ที่ Supersports ทุกสาขา
? bit.ly/CRCSPORTS