วิธีป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างจากการวิ่ง
อาการปวดหลังส่วนล่างนั้นมันแย่มาก คนส่วนใหญ่จะต้องเจอกับอาการนี้ในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตไม่ว่าพวกเขาจะเป็นนักวิ่งหรือไม่ก็ตาม อาจเป็นเพราะเรายกของหนักโดยใช้ท่วงท่าที่ผิด , เป็นคนที่นั่งนานเกิน 8 ชั่วโมง , หรือมีปัญหาทางสุขภาพ แต่สำหรับนักวิ่งแล้วท่วงท่าในการวิ่งนี่ล่ะที่จะเป็นตัวตัดสินว่าจะเกิดอาการปวดหลังหรือไม่
การฝึก Strength training , การปรับปรุงท่วงท่าในการวิ่ง รวมไปถึงฝึกความยืดหยุ่นให้ร่างกายมันจะช่วยป้องกันอาการปวดหลังได้ มาดูกันเลยดีกว่าว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
วิธีแก้อาการปวดหลัง สำหรับทุกคน
** คลิปประกอบสาธิตการใช้ท่าฝึกทั้งสองท่า **
หากเพื่อนๆ มีอาการปวดหลังตอนวิ่ง แสดงว่าเราอาจมีช่วงเวลาที่เว้นจากการวิ่งหรือเว้นจากการฝึก Cross training หรืออาจจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน , ไม่ได้ยืดกล้ามเนื้อหลังการวิ่ง หรือรูปแบบไลฟ์สไตล์ที่ต้องนั่งนานๆ
เราจะแก้ด้วยการฝึก Strength training และการยืดกล้ามเนื้อ เป็นท่าง่ายๆ ที่เพื่อนๆ สามารถนำไปฝึกที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าหากอาการปวดหลังของเพื่อนๆ มันผิดปกติ และมาจากสาเหตุอื่นๆ ที่เราไม่ได้กล่าวมาก็ควรไปพบแพทย์
การฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางให้แข็งแรง เพื่อเอาชนะอาการปวดหลังล่างตอนวิ่ง
สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เราปวดหลังล่างก็คือมีกล้ามเนื้อแกนกลางที่ไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อส่วนนี้มีหน้าที่ทำให้เราตัวตรง , ช่วยรักษาสมดุลและช่วยยืดกระดูกสันหลังและเชิงกรานเข้าด้วยกัน การมีกล้ามเนื้อแกนกลางที่แข็งแรงจะส่งผลต่อชีวิตประจำวันและการวิ่ง เมื่อเราต้องวิ่งเป็นพันก้าว กล้ามเนื้อแกนกลางจะคอยช่วยดูดซึมแรงกระแทกที่ร่างกายได้รับ
ท่วงท่าในการวิ่งก็มีส่วน ถ้าหากเรามีกล้ามเนื้อแกนกลางที่ไม่แข็งแรงก็จะทำให้เกิดการปวดหลังขึ้นมาได้ ไม่เพียงสร้างความไม่มั่นคงไปทั่วร่างกาย แต่ยังขัดขวางความสามารถในการใช้งานกล้ามเนื้อสะโพกซึ่งมีความสำคัญต่อนักวิ่งอีกด้วย
เรามาเริ่มต้นการทดลองดีกว่า ว่าการจัดตำแหน่งกระดูกสันหลังจะส่งผลต่อการใช้งานกล้ามเนื้อสะโพกและกล้ามเนื้อแกนกลางอย่างไร เพื่อให้เข้าใจว่าทำไมจึงเกิดอาการปวดหลังล่างขึ้นมา
ทดสอบการใช้งานกล้ามเนื้อสะโพก
เพื่อที่เราจะค้นหาตำแหน่งตามธรรมชาติของกระดูกสันหลัง เราจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อสะโพกก่อน
- ยืนตามปกติ และให้ยืนกางขา
- เกร็งกล้ามเนื้อก้นเพื่อให้กล้ามเนื้อสะโพกทำงาน เราควรจะรู้สึกว่ากระดูกเชิงกรานขยับมาด้านหน้าเล็กน้อย
- เราอาจจะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อแกนกลางทำงานด้วย แม้ว่าเราจะไม่ได้พยายามใช้มันก็ตาม
อย่าลืมว่าต้องปล่อยกระดูกสันหลังเป็นธรรมชาติ แล้วพยายามใช้กล้ามเนื้อสะโพก ซึ่งท่าทีใช้อยู่นี้ก็จัดว่าเป็นท่าฝึกที่ช่วยให้เราวิ่งได้ดีขึ้น
บริหารกล้ามเนื้อแกนกลาง โดยใช้ท่า Hollow Body Hold
เป้าหมายของท่านี้คือการบริการกล้ามเนื้อหน้าท้องส่วนที่อยู่ลึกเข้าไป ซึ่งมีหน้าที่ซัพพอร์ทและป้องกันกระดูกสันหลังไม่ให้ไปเรียงตัวในตำแหน่งที่อันตราย นอกจากนี้กล้ามเนื้อแกนกลางจะยังช่วยลดภาระของกล้ามเนื้อหลังล่าง ถ้าไม่มีกล้ามเนื้อส่วนนี้คอยช่วยละก็ กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างจะต้องรับแรงกระแทกจากการวิ่งไปเต็มๆ ทำให้เกิดความเครียดสะสมและได้รับบาดเจ็บได้
วิธีการฝึกท่านี้
- นอนเอาหลังแบนราบกับพื้นยกเข่าขึ้นมา แล้วเอาฝ่าเท้าทั้งสองข้างวางไว้กับพื้น
- ยกเท้าขึ้นมาจนกระทั่งเข่าของเรางอ 90 องศา
- ตำแหน่งของเข่าจะต้องอยู่เหนือตำแหน่งของก้น และศีรษะของเราจะต้องถูกวางไว้กับพื้น
- หลังส่วนล่างควรกดแนบกับพื้น จนกระทั่งไม่สามารถสอดมือเข้าไปได้
หลังจากนั้นจะต้องทำท่าที่ยากกว่าเดิม เพื่อทดสอบการใช้งานกล้ามเนื้อสะโพก
- ยกศีรษะและไหล่ขึ้นจากพื้น แขนอยู่ด้านข้างลำตัว แต่ยกขึ้นมาเหนือพื้น 2 นิ้ว ยกฝ่ามือขึ้น
- เราจะยกแขนขึ้นมาให้สูงกว่าก้นก็ได้ โดยให้มันตั้งฉากกับพื้น
- ให้พยายามยืดขา 1 ข้าง จากนั้นให้ยืดทั้งสองข้าง
- ให้เปลี่ยนท่าหลายๆ แบบ เช่น ยกแขนและขาข้างที่อยู่ตรงข้ามกันและอื่นๆ
- สังเกตความรู้สึกว่าในตอนเปลี่ยนท่าจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อแกนกลางอย่างไรบ้าง เช่นเดียวกับตอนที่เราต้องขยับเปลี่ยนท่าทางตอนวิ่ง
มีกฎข้อเดียวก็คือ หลังของเราจะต้องแตะพื้นอยู่ตลอดเวลา มันจึงจะปลอดภัยสร้างความมั่นคงต่อหลังส่วนล่าง ช่วยไม่ให้กระดูกสันหลังยืดหรือบีบอัดมากเกินไป
- ให้เริ่มจากการทำค้างเอาไว้ 10 วินาที โดยให้ทำทั้งหมด 6 รอบ
การเพิ่มความคล่องตัวให้กับกล้ามเนื้อสะโพก จะช่วยทำให้หายปวดหลังล่างตอนวิ่งได้
อีกหนึ่งตัวการก็คือกล้ามเนื้อสะโพกนั่นเอง ไม่น่าแปลกใจเลยที่มันจะแน่นและเพิ่มความกดดันให้กับกระดูกสันหลังของเรา ซึ่งมันเกิดจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ต้องนั่งนานๆ
กล้ามเนื้อ Hip flexors มีหน้าที่เชื่อมต่อกระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังส่วนเอวเข้าด้วยกัน ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ psoas และ iliacus และจะทำงานร่วมกันเพื่องอข้อสะโพกและช่วยในการยกขาเข้าหาร่างกาย
ทุกครั้งที่เราก้าวขาจะต้องมีการใช้กล้ามเนื้อส่วนนี้ เมื่อเราต้องนั่งตลอดทั้งวันจะทำให้กล้ามเนื้ออยู่ในท่าที่ต้องมีการหดตัว และมันจะยืดตัวขึ้นในตอนที่เรายืน หากกล้ามเนื้อแน่นเพราะนั่งนานเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อถูกดึงไปด้านหน้ากระดูกเชิงกรานในตอนที่เรากำลังยืน จึงมีแนวโน้มที่จะทำให้ตำแหน่งกระดูกเชิงกรานขยับโค้งไปด้านหน้า ทำให้เกิดอาการปวดหลังล่างเรื้อรังและจะมีอาการปวดเกิดขึ้นในตอนวิ่งอีกด้วย
จึงต้องมีการฝึกบริหารสร้างความยืดหยุ่นคล่องตัวในกล้ามเนื้อ Hip flexor แทนที่เราจะใช้ท่ายืดกล้ามเนื้อแบบ Static stretch ซึ่งเราต้องอยู่เฉยๆ ไม่ขยับตัว แต่เราจะใช้ท่าดริลในการฝึกแทน
- เริ่มด้วยการยืนแล้วปล่อยกระดูกเชิงกรานให้เป็นธรรมชาติเหมือนตอนที่เราฝึกเกร็งก้นไปก่อนหน้านี้
- เริ่มหมุนตัวไปมาจากด้านข้าง ซึ่งจะทำให้เกิดการบิดทั้งร่างกายส่วนบนและล่าง
- เราจะเริ่มรู้สึกว่าด้านหน้าสะโพกมีการยืดกล้ามเนื้อเบาๆ
- หมุนตัวซ้ายขวาต่อไป
- ก้าวขาขวาไปด้านหลังเหมือนท่า lunge แล้วเริ่มหมุนตัวซ้ายขวา
การเพิ่มความยาก
- ต้องมีการยื่นแขนขึ้นด้านบนเพื่อเพิ่มระยะทางในการเคลื่อนที่ โดยเน้นการบิดไปทางขาขวา
- ยกแขนข้างหนึ่งขึ้นมาสูงๆ ส่วนอีกข้างปล่อยมันลงไปด้านล่าง (แขนที่ยกต้องเป็นคนละข้างกับขาหลัง)
- เริ่มหมุนตัวไปมากขึ้นทางด้านซ้ายให้มันถึงสะโพกด้านขวาลงไปถึงน่องถึงเข่าและข้อเท้าเลย
- ทำให้ได้ข้างละ 30 ครั้ง ในตอนพึ่งเริ่มฝึกให้หมุนตัวน้อยๆ ไปก่อน
ทั้งสองท่านี้จะช่วยในการทำกายภาพบำบัด และช่วยไม่ให้ปวดหลังตอนวิ่งอย่างแน่นอน
สำหรับคลิปนี้ มีไว้ให้คนที่ต้องการใช้ lacrosse ball และ kettlebell เป็นอุปกรณ์ในการฝึก
ที่มา :
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming