บทสรุปคำตัดสินกรณีโต้แย้งรองเท้าวิ่ง Nike Alphaflys ของ World Athletics
หลังจากมีกระแสโต้แย้งกันอยู่พักใหญ่ในประเด็นที่ว่า รองเท้าวิ่งตัวต้นแบบอย่าง Nike Alphaflys ที่ Eliud Kipchoge ใส่วิ่งในการทำสถิติ Sub 2 โปรเจ็ค INEOS 1:59 มีการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยนักวิ่งเกินจริงไปหรือไม่นั้น นี่คือ บทสรุปคำตัดสินกรณีโต้แย้งรองเท้าวิ่ง Nike Alphaflys ของ World Athletics
ล่าสุดทาง World Athletics หรือ สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (IAAF) ได้ออกมาแถลงข้อสรุปผลการพิจารณาเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับประกาศกฎใหม่ของรองเท้าวิ่งที่จะใช้ในการแข่งขันด้วย โดยรองเท้าวิ่งไนกี้ รุ่น Nike Vaporflys ได้รับอนุญาตให้ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก Tokyo Olympic 2020 ได้
แต่สำหรับ Nike Alphaflys ได้ถูกแบนสั่งห้ามไม่ให้นำมาใช้ในการแข่งขันจนกว่าการทดสอบเพิ่มเติมจะดำเนินการแล้วเสร็จ รวมไปถึงรองเท้าที่มีแผ่นรองหรือใบมีดมากกว่าหนึ่งชิ้น โดยเป็นการระงับชั่วคราวเท่านั้น และระบุว่ารองเท้าที่สามารถสวมใส่ในการแข่งขันได้ต้องมีการวางจำหน่ายทั่วไปในตลาดเป็นเวลาอย่างน้อยสี่เดือน ห้ามใช้รองเท้าที่ยังเป็น ‘ต้นแบบ’ หรือ prototype ในการแข่งขัน
Nike Alphafly เป็นรองเท้ารุ่นที่มีพื้นรองเท้าที่มีแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มากถึง 3 แผ่น และมีแผ่นกันกระแทกสองชั้นที่ด้านหน้า และผลิตมาให้เฉพาะสำหรับ Kipchoge สวมใส่ในการวิ่งมาราธอน Sub 2 เท่านั้น นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Alphafly ถูกแบนในการตัดสินครั้งนี้
กฎใหม่รองเท้าวิ่ง
มาดู ‘กฎใหม่ของรองเท้าวิ่ง’ ที่ World Athletics พึ่งประกาศออกมากันบ้าง
- พื้นรองเท้าจะต้องไม่หนาเกินกว่า 40 มม.
- รองเท้าที่มีการฝังวัสดุหรือแผ่นใดๆทั้งแบบเต็มความยาวหรือเพียงบางส่วน มีได้เพียงหนึ่งชิ้นเท่านั้น แต่ถ้าหากมีมากกว่าหนึ่งชิ้น ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน ไม่วางขนานกัน และต้องไม่ทับซ้อนกัน
- สำหรับรองเท้าที่มีปุ่มแหลม (พื้นตะปู) หรือแผ่นเสริมอื่นๆ สามารถมีได้ แต่โดยรวมแล้วพื้นรองเท้าต้องไม่หนาเกินกว่า 30 มม.
บทสรุป
World Athletics ตัดสินให้ Nike Vaporflys ได้ไปต่อ แต่ขอแบน Nike Alphaflys (ชั่วคราว) พร้อมออกกฎใหม่รองเท้าวิ่งที่จะใช้ในการแข่งขันระดับกรีฑาสากล
ที่มา : https://bit.ly/36KiTNW
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming