เคล็ดลับเรื่องอาหารของ Oksana Masters แชมป์พาราลิมปิก 8 สมัย
Oksana Masters นักปั่นสาวชาวอเมริกันผู้ชนะการแข่งขันจักรยานพาราลิมปิกในโอลิมปิกเกม 8 สมัย ตอนนี้เป้าหมายของเธอคือการลงแข่งที่ปักกิ่งในปี ค.ศ.2022 ในวันนี้เราจะมาดูกันว่านักแข่งวัย 32 ปีคนนี้ มีวิธีการเตรียมตัวเรื่องอาหารอย่างไรในช่วงเวลาที่เธอต้องไปแข่งในต่างประเทศ
รู้จัก Oksana Masters
เธอเติบโตขึ้นมาในบ้านเด็กกำพร้าที่ยูเครน ก่อนที่จะได้รับการอุปการะจากศาสตราจารย์ชาวอเมริกัน เหตุการณ์ภัยพิบัติเชียร์โนบีลทำให้เธอเกิดมามีขาที่ผิดปกติ ขายาวไม่เท่ากันและไม่มีกระดูกส่วนที่ต้องรองรับน้ำหนัก มีนิ้ว 5 นิ้วแต่ไม่มีหัวแม่โป้ง เธอต้องตัดขาในตอนอายุ 9 และ 14 ปี และขาเทียมก็มอบโอกาสให้เธอเข้าวงการกีฬา และในที่สุดก็ได้พบกับจักรยานใช้มือปั่นนั่นเอง เธอหวังว่าจะทำให้ผู้หญิงหันมาสนใจกีฬามากขึ้น
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับเรื่องอาหารการกินของแชมป์สาวพาราลิมปิก 8 สมัย เธอเตรียมตัวอย่างไร และทานอะไรในเวลาไหนบ้าง ไปอ่านกัน
1. การเตรียมอาหารเช้า
เธอจะเตรียมอาหารที่สามารถทำได้เร็วใช้ได้ง่ายไว้ล่วงหน้า 1 คืน โดยปกติจะนำซีเรียล Grape Nuts ไปอุ่นในไมโครเวฟ มันจะช่วยให้ปลอดภัยต่อการเคี้ยวมากขึ้น ฟันจะได้ไม่แตก แล้วก็จะทานมันพร้อมกับบลูเบอร์รี่ หลังทานอาหารเช้าเสร็จแล้วเธอจะเริ่มการฝึกรอบแรกในวันนั้น แล้วค่อยทานข้าวโดยให้แฟนซึ่งเป็นนักกีฬาพาราลิมปิกเหมือนกันเป็นคนทำให้ ซึ่งจะเป็นเมนูไส้กรอกเนื้อไก่งวง , ไข่ , ผักโขมผัด แล้วก็กิมจิ เธอเชื่อว่าควรใส่อาหารที่มีโพรไบโอติกลงไปในชามข้าวก่อน แล้วค่อยโปะหน้าด้วยสิ่งที่ต้องการในภายหลัง และแน่นอนว่าต้องมีการดื่มกาแฟดำ
2. ทำให้มันเรียบง่ายเข้าไว้
หลังจากการฝึกเธอจะดื่มโปรตีนเชค โดยทำจากเวย์โปรตีนยี่ห้อ Klean Athlete ผสมกับน้ำส้มเพื่อให้ได้คาร์โบไฮเดรต เธอมักจะเตรียมอาหารล่วงหน้าสำหรับ 1 สัปดาห์ เป็นเมนูที่ทำจากเนื้ออกไก่ , ถั่วดำ , และบล็อคโคลี่ แล้วก็ทานแบบนั้นทุกวัน โดยเฉพาะในสัปดาห์ที่มีการฝึกหนัก มันจะดีมากถ้าเราเตรียมอาหารไว้ล่วงหน้า เราจะได้ทานอาหารสุขภาพมากขึ้นไม่ใช่ทานแต่คุ้กกี้โอริโอ้ ส่วนมื้อเย็นจะทานเหมือนมื้อกลางวัน บางครั้งก็จะมีการเพิ่มเนื้อปลาแซลม่อนแล้วก็อาหารตามฤดูกาลด้วย
3. การเตรียมอาหารสำหรับโอลิมปิก
เมื่อเธอต้องเดินทางไปลงแข่ง เธอจะเอาทุกอย่างติดตัวไปด้วย เธอจะเอากาแฟไปเองเพราะว่าในทุกงานแข่งแม้ว่าจะมีกาแฟให้นักกีฬา แต่มันจะเป็นกาแฟเอสเพรสโซ่ที่ทำจากเครื่องทำกาแฟ ซึ่งสามารถกดดื่มได้เลย แต่เธอชอบทานกาแฟที่ทำเองทุกขั้นตอนมากกว่า เวลาเธอรู้สึกกังวลหรือประหม่าการทำกาแฟมันจะช่วยผ่อนคลายได้ และเธอจะนำอาหารหลักของเธอติดไปเยอะมาก เวลาทำเมนูไข่และเมนูไก่เธอชอบใช้น้ำมันงาของญี่ปุ่น เธอเรียนรู้เรื่องพวกนี้เพราะเคยไปลงแข่งที่ต่างประเทศแล้วท้องไส้รับอาหารประเทศอื่นไม่ได้ เธอก็เลยพยายามทำตัวให้ชินกับการทานกิมจิ , อาหารหมักดอง , และน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร
4. การทำซุปบอร์ช (Borsch Soup) ให้ดี
ปกติแล้วเธอจะนำซุปแช่แข็งติดตัวไปด้วย เธอบอกว่าตัวเองอาจเป็นคนเดียวที่ชอบซุปนี้เพราะบรรพบุรุษของเธอมาจากยูเครน โดยเธอจะราดหน้ามันด้วยซาวครีมที่ทำขึ้นเอง กุญแจสำคัญเลยคือการใช้หัวผักกาดที่สด ทั้งแบบตามฤดูกาลและแบบที่หมักไว้ โดยเธอมักจะเอามันไปย่างให้หวานขึ้นก่อน จากนั้นค่อยหั่นใส่ลงในซุป
5. คุ้กกี้โอริโอ้นั้นสุดยอด แต่โดนัทดีที่สุด
เธอมักดูรายการทำขนมในวันที่ต้องฝึกในบ้าน แถวบ้านเธอมีร้านโดนัทชื่อ Pandamonium Doughnuts และมันอร่อยสุดยอดมาก โดนัทที่นั่นมีขนาดใหญ่เท่าหน้าของคนเลย เธอชอบเค้กและยีสต์โดนัท รวมไปถึงโดนัทหน้าผลไม้ที่ตกแต่งด้วยไอซ์ซิ่ง ถ้าชอบโดนัทก็ต้องร้านนี้ล่ะ
6. สิ่งสำคัญคือต้องฟังเสียงร่างกาย
การฝึกเตรียมอาหารนั้นต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ เธอเติบโตมาในสถานที่รับเลี้ยงเด็กกำพร้า เธอต้องรอนานกว่าจะได้ทานอาหาร จึงค่อนข้างต้องใช้เวลากว่าเธอจะเริ่มรู้สึกหิว ในปัจจุบันเธอจะกินให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ โดยไม่ต้องไปสนใจว่าได้รับคาร์โบไฮเดรตไปแล้วเท่าไหร่ โดยมีคติว่าหากร่างกายหิวก็หมายความว่ามันมีเหตุผลที่ร่างกายยังคงต้องการอาหารอีก แต่ก็คงไม่ถึงขั้นต้องกินโอริโอ้สัก 10 ชิ้นหรอก บางทีเราอาจต้องการแค่เพียงชิ้นเดียว เพราะร่างกายต้องการน้ำตาลแค่นั้นเอง
สิ่งที่เธอจะไม่ทำคือการกินอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน เธออาจจะกินมื้อใหญ่ในช่วงเช้า แล้วก็ไม่กินอะไรจนถึงเย็น และเธอจะทำเหมือนกับว่าระดับน้ำตาลในเลือดและความหิวของเธอมันไม่ใช่เรื่องใหญ่ ตอนแรกๆ เธอเอาจคิดว่าเธอมีปัญหาสุขภาพ แต่อันที่จริงมันเป็นเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลงซึ่งเหตุผลมาจากไม่ได้กินอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
ที่มา : https://bit.ly/3CnPnh6
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming