เคยสงสัยไหมว่า “อาการเสพติดน้ำตาล” มีอยู่จริงหรือไม่ ทำไมอยู่ๆเราจึงนึกอยากทานของหวานขึ้นมาเฉยๆ และเป็นบ่อยจนแทบจะเหมือนอาการเสพติด บทความนี้จะชวนทุกคนมาไขข้อสงสัย โดยอ้างอิงจากผลงานวิจัยที่เชื่อถือได้ อาการเสพติดน้ำตาลมีจริงไหม น้ำตาลทำให้เราเสพติดได้หรือไม่ และวิธีจัดการกับความอยากน้ำตาล ต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกัน
อาการเสพติดน้ำตาลมีจริงไหม
ไม่ว่าน้ำตาลจะถูกผลิตหรือมีที่มาอย่างไร แต่น้ำตาลก็คือน้ำตาลอยู่วันยังค่ำ และการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อน้ำตาลนั้นก็เหมือนเดิมเสมอ ไม่ว่าคุกกี้จะใส่น้ำตาลแบบไหน มันก็คือน้ำตาล แต่ถ้าพูดถึงอาหารอย่างพวกผลไม้กับนมที่มีน้ำตาลธรรมชาติเหมือนกัน แล้วทำไมเราจึงไม่เสพติดอาหารประเภทนี้ล่ะ มาหาคำตอบกัน
น้ำตาล แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
อันที่จริงน้ำตาลนั้นมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันมากกว่า 60 ชื่อเลยล่ะ แต่เมื่อพูดถึงเรื่องวิทยาศาสตร์ เราจะพูดถึงน้ำตาล 2 ประเภท คือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และน้ำตาลโมเลกุลคู่ โดยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก็เป็นน้ำตาลเดี่ยวๆนี่ล่ะ แต่ถ้าเป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่มันก็จะประกอบไปด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 ชนิดมารวมกัน
น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (โมโนแซ็กคาไรด์)
- กลูโคส
- ฟรักโทส (น้ำตาลจากผลไม้)
- กาแล็กโทส
น้ำตาลโมเลกุลคู่ (ไดแซ็กคาไรด์)
- แลคโตส (น้ำตาลจากนม)
- ซูโครส (น้ำตาลทราย)
- มอลโทส (จากธัญพืช)
น้ำตาลที่พบในลูกอมและอาหารเติมความหวาน (กลูโคส) มักจะไม่มีสารอาหารอื่นๆอยู่เลย มันจึงถูกย่อยอย่างรวดเร็ว และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงได้ในทันที ในขณะที่ผลไม้นั้นมีไฟเบอร์อยู่ด้วย ทำให้กระบวนการย่อยน้ำตาลฟรักโทสมันช้าลง ส่วนนมก็มีโปรตีนและไขมันอยู่ด้วย จึงทำให้กระบวนการย่อยแลคโตสช้าลง สรุปว่าน้ำตาลทำให้เราเสพติด หรืออาหารทำให้เราเสพติดกันแน่? ไปดูหัวข้อต่อไปเลย
น้ำตาลส่งสัญญาณไปกระตุ้นความสุขให้กับสมอง
มีบางงานวิจัยที่พบว่าอาหารที่อร่อยจะทำให้มีอาการเสพติด และจะส่งสัญญาณกระตุ้นเส้นทางในสมองที่เกี่ยวข้องกับการโหยหาความสุข แต่ในทางกลับกันการควบคุมน้ำตาลอย่างเคร่งครัด หรือการจำกัดการได้รับน้ำตาล “จะเพิ่มการตอบสนองต่อความสุขมากขึ้น” แม้ว่าจะเป็นตอนที่ไม่ได้หิวก็ตาม ซึ่งนี่อาจเป็นผลที่ได้จากการจำกัดอาหาร เมื่อมีการตัดอาหารบางอย่างออกไป จึงทำให้มีความรู้สึกอยากกินมากกว่าเดิม
การอดและการได้รับน้ำตาล อาจส่งผลต่อการตอบสนอง
มีอีกหนึ่งงานวิจัยกับหนูเพื่อชี้วัดความต้องการใช้และการเสพติดน้ำตาล พบว่าเฉพาะหนูที่ขาดน้ำตาล 12 ชั่วโมงที่จะรู้สึกดื่มด่ำกับน้ำตาลในช่วงกรอบเวลาที่ได้รับอาหาร แต่พวกหนูที่มีโอกาสได้รับน้ำตาลตลอด 24 ชั่วโมงจะควบคุมการกินของพวกมันได้ แต่อย่างไรก็ตามพบว่าหนูทั้งสองกลุ่มพยายามลดการบริโภคลงเพื่อชดเชยการได้รับแคลอรี่มากเกินไป น้ำหนักตัวของพวกมันจึงเหมือนเดิม
พวกหนูกลุ่มแรกที่รู้สึกดื่มด่ำกับน้ำตาลนั้นเป็นกลุ่มที่ถูกจำกัดน้ำตาลแต่แรก จึงพอจะชี้ให้เห็นว่า การไดเอทแบบจำกัดจะนำไปสู่การทานอาหารมากเกินไปและรูปแบบการกินที่ไม่เป็นระเบียบ
การได้รับรางวัล รสชาติ และความอิ่ม น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนในการบริโภคน้ำตาล
แทนที่จะเชื่อว่าอาหารหวานจะเป็นอาหารที่ทำให้เสพติด แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า “มูลค่าของรางวัลและศักยภาพในการสร้างความรู้สึกพึงพอใจ” นั่นล่ะที่มันเป็นตัวขับเคลื่อนให้ผู้คนกลับมาทานอาหารหวานอีกเรื่อยๆ นี่หมายความว่าการทานประเภทนี้มากเกินไปเกิดจากรสชาติอร่อย โดยที่ไม่ได้มีส่วนผสมของอาหารที่ทำให้รู้สึกอิ่ม อย่างพวกโปรตีนและไฟเบอร์ (ก็เลยกินได้เรื่อยๆ)
มีอีกการวิจัยเกี่ยวกับสมองที่พบความเหมือนที่เกิดการทำงาน เมื่อพวกอาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองได้เห็นอาหารที่มี น้ำตาลสูง , มีคาร์บสูง , ไขมันสูง สมองจะมีการทำงานเหมือนกับคนที่ใช้สารเสพติด
การวิจัยที่แตกต่างกันไป เรื่องน้ำตาลทำให้เสพติดหรือไม่?
มีบางหลักฐานที่ชี้ว่าน้ำตาลไม่ได้สร้างการตอบสนองด้านการเสพติดเหมือนเหล้าและยาเสพติด แต่ในทางตรงกันข้ามก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ที่ให้การสนับสนุนผลการวิจัยที่ชี้ว่าน้ำตาลทำให้เกิดอาการเสพติดอาหารได้
อะไรทำให้เรารู้สึกอยากน้ำตาล?
อาการอยากน้ำตาลนั้นเกิดขึ้นเวลาไหนก็ได้ และเกิดได้ด้วยหลายสาเหตุทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางทีความอยากน้ำตาลอาจเป็นแค่การที่ร่างกายตอบสนองต่อความหิว แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มีหลายสาเหตุที่ทำให้เราอยากทานอะไรหวานๆ และที่ต้องระวังคือในบางกรณีความอยากน้ำตาลอาจหมายถึงปัญหาทางสุขภาพบางอย่างได้ด้วย
สมองตอบสนองต่อน้ำตาล
น้ำตาลเป็นพลังงานหลักของสมอง น้ำตาลทุกประเภทจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานที่คอยซัพพอร์ตการทำกิจกรรมตลอดทั้งวัน เมื่อเราทานอาหารที่มีน้ำตาลจะเกิดการหลั่งอินซูลิน และจะมีการส่งสัญญาณเพื่อให้เซลล์เม็ดเลือดเริ่มทำการดูดซึมน้ำตาล เพื่อลำเลียงไปทั่วทั่งร่างกาย
นอกจากนี้อาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูง ยังเป็นแหล่งพลังงานชั้นดี เมื่อเพื่อนๆทานของหวาน ระบบให้รางวัลในสมองจะทำให้มีการหลั่งโดพามีน (เราสามารถติดมันได้) ซึ่งมันเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดี และคอยทำให้คนเรามีแรงบันดาลใจ มีความรู้สึกได้รับรางวัล และมีแรงผลักดันทางจิตใจ
แม้แต่การจินตนาการว่าได้ทานอะไรหวานๆ ก็ยังทำให้เกิดการหลั่งโดพามีนได้ ซึ่งระบบได้รับรางวัลในสมองจะทำให้เรารู้สึกอยากได้รับรางวัลไปอีกเรื่อยๆ จนเหมือนติดยาเลย และนี่คือเหตุผลที่ทำให้หลายคนเชื่อว่าน้ำตาลทำให้เกิดอาการเสพติดได้
อย่างไรก็ตามคาร์บและน้ำตาลก็มีความสำคัญต่อมื้ออาหาร แต่ยังไงก็ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (มีในผักผลไม้และธัญพืช) และน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (ในน้ำผลไม้และลูกอม)
เพื่อนๆอาจคิดว่าเป็นไอเดียที่ดี หากเราจะตัดน้ำตาลออกจากมื้ออาหารไปให้หมดเลย แต่บางทีเราอาจแค่ต้องลดจำนวนการทานน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวลง และไปทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและมีไฟเบอร์สูงให้มากขึ้น
ถ้าหากไม่มีน้ำตาลและคาร์บในอาหารเลย เมื่อเราทานคีโตก็จะทำให้เกิดภาวะสมองล้าและรู้สึกเฉื่อยชาอย่างมาก เนื่องจากการที่เรางดน้ำตาลจะทำให้สมองต้องใช้คีโตนเป็นพลังงานแทน ซึ่งจะต้องใช้เวลากว่าจะปรับตัวได้
เบาหวาน
หากเพื่อนๆเป็นเบาหวาน ก็สามารถมีอาการอยากน้ำตาลได้เหมือนกัน หากสงสัยว่าตัวเองเป็นเบาหวานหรือไม่ ก็ให้ไปตรวจได้ที่โรงพยาบาล
อาการซึมเศร้าและอาการผิดปกติทางอารมณ์อื่นๆ
อาการอยากน้ำตาลตอนที่อารมณ์กำลังย่ำแย่นั้นมีอยู่จริง แล้วก็ยังมีหลักฐานที่ชี้ว่าอาหารส่งผลต่ออารมณ์ของเราด้วย การที่เราทานน้ำตาลและคาร์บมากขึ้น ทานผักผลไม้น้อยลง อาจทำให้สภาวะอารมณ์แย่ลงได้ นักวิจัยยังพบด้วยว่าการทานของหวานส่งผลต่ออารมณ์ เพียงแต่ว่ายังหาข้อสรุปไม่ได้ในตอนนี้ ว่าสาเหตุที่เราทานน้ำตาลมากขึ้นมาจากอารมณ์ไหนกันแน่
แต่สิ่งที่เรารู้แล้วนั่นก็คือ การทานน้ำตาลส่งผลต่อระบบการให้รางวัลในสมองแน่นอน
อีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้
บางครั้งการจัดอาหารโดยตัดน้ำตาลออกมากเกินไปจนไม่สมดุล ก็ทำให้เรามีความรูสึกคิดถึงของหวานที่เคยทานได้ เคยมีการวิจัยในกลุ่มผู้หญิงที่กำลังลดน้ำหนัก คนที่กำลังไดเอทอยู่จะมีระดับความยากน้ำตาลที่ต้านทานได้ยากกว่าคนที่ไม่ได้กำลังอยู่ในช่วงไดเอท และมีโอกาสสูงที่จะรู้สึกอยากทานอาหารที่ตัวเองกำลังงดมากขึ้นด้วย
วิธีจัดการกับความอยากน้ำตาล
โดยเฉลี่ยแล้วคนที่อยู่ในวัยกลางคนจะทานน้ำตาลวันละ 17 ช้อนชา ซึ่งมันมากเกินกว่าที่กระทรวงเกษตรสหรัฐกำหนดมาว่า ควรได้รับวันละ 10 ช้อนชาเท่านั้น และจากนี้ไปคือเคล็ดลับในการลดน้ำตาล
- อ่านฉลากก่อนซื้อ อย่าลืมว่าน้ำตาลนั้นมีชื่อเรียกหลายแบบเลย
- อย่าดื่มน้ำอัดลมและน้ำผลไม้ ดื่มน้ำเปล่าแทน
- ทานอาหารมีน้ำตาลในปริมาณที่น้อยลง
- หลีกเลี่ยงการให้รางวัลตัวเองด้วยการทานของหวาน
- ปรึกษานักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม
เมื่อไหร่จึงควรไปหาหมอ
มีวิธีสังเกตอาการตัวเองตามนี้ หากมีอาการตามนี้ควรรีบไปหาหมอได้เลย
- มีความหิวหรือกระหายน้ำในระดับรุนแรง
- มีอาการขาดน้ำอย่างรุนแรง
- ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะออกมาโดยไม่ตั้งใจ
- เหนื่อยล้า
- น้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ
บทสรุปส่งท้าย
ไม่ว่าน้ำตาลจะทำให้เสพติดได้จริงหรือไม่ ยังคงไม่ชัดเจนในตอนนี้ แต่ข้อเท็จจริงคือหลายคนมีอาการเสพติดของหวาน หากเพื่อนๆมีอาการเหมือนกันก็ควรหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นโดยตรง
แหล่งที่มา : https://bit.ly/3vYvoV1
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming