ทำไมการออกกำลังกายแบบ HIIT ถึงได้ดีต่อร่างกายและสมอง
- การวิจัยใหม่พบว่า การออกกำลังกายที่มีระดับความเข้มข้นสูงในช่วงเวลาสั้นๆ จะส่งผลด้านบวกต่อการฟื้นตัวและปรับสภาพของสมอง (Brain’s neuroplasticity)
- Neuroplasticity เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนของสมอง เพื่อเปลี่ยนระบบการทำงานและโครงสร้าง
- นักวิจัยบอกว่า การออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูงเป็นเวลานานจะทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดหรือคอร์ติซอล ส่งผลทำให้ขัดขวางข้อดีที่จะเกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายนั้นดีต่อสุขภาพแน่นอน แต่ระยะเวลาในการออกกำลังกายก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและระดับความฟิตของร่างกายด้วย ไม่ว่าเราจะใช้วิธีไหนในการออกกำลังกาย ก็มีการวิจัยใหม่จากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ระบุว่า หากมีการผสมผสานรูปแบบการออกกำลังกายเป็นประจำจะส่งผลดีต่อทั้งสมองและร่างกาย
มีอยู่หนึ่งงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Science and Medicine in Sport โดยนักวิจัยได้ทำการรีวิวการทดลอง 12 แบบ โดยมีอาสาสมัคร 128 คน โดยทำการสแกนสมองเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงในตอนที่มีการออกกำลังกายแบบแอโรบิค
โดยมีความสนใจเรื่องระยะเวลาและประเภทของการออกกำลังกายว่า แบบไหนที่จะส่งผลต่อ Neuroplasticity มากที่สุด
การออกกำลังกายแบบ HIIT ส่งผลต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและจิตใจ
จากการวิจัยที่ทดลองทั้งการปั่นจักรยานในโรงยิม และการวิ่งบน treadmill โดยมีระดับความเข้มข้นและระยะเวลาที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น บางการทดลองใช้เวลา 20 นาทีในการออกกำลังกายแบบ HIIT โดยจะมีการเร่งความเข้มข้นในช่วงเวลาสั้นๆ และมีช่วงที่ผ่อนแรงเพื่อฟื้นตัว , อีกอย่างคือการออกกำลังกาย 25 นาทีด้วยระดับความเข้มข้นปานกลางแบบต่อเนื่อง , และอีกอย่างคือการออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นต่ำต่อเนื่องนาน 20 นาที
นักวิจัยพบว่าการออกกำลังกายแบบ HIIT , การออกกำลังกายต่อเนื่องด้วยระดับความเข้มข้นปานกลางจะส่งผลดีต่อ Neuroplasticity ของผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนมากที่สุด
Neuroplasticity คืออะไร?
Neuroplasticity คือการปรับตัวของสมองเพื่อเปลี่ยนการทำงานหรือโครงสร้าง ยกตัวอย่างเช่น สมองปรับตัวให้เคยชินกับทักษะใหม่ที่พึ่งเรียนรู้ เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าการออกกำลังกายส่งผลดีต่อสมองด้วย
แต่การออกกำลังกายไม่ได้ให้ผลดีเท่ากันทั้งหมด
มีการออกกำลังกายบางอย่างเท่านั้นที่จะส่งผลดีต่อสมอง การวิจัยพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิคจะช่วยส่งเสริมกระบวนการ Neuroplasticity ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ , ความจำ , การฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ เช่น อาการหัวใจวาย เป็นต้น
สาเหตุการที่ออกกำลังกายแบบแอโรบิคดีกว่าแบบอื่นก็เพราะว่า มันสามารถควบคุมระดับความตึงเครียดได้ จึงไม่ทำให้มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงมากเกินไปจนไปขัดขวางไม่ให้เกิดประโยชน์ในการออกกำลังกาย
นักวิจัยจึงและนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือแบบ Interval เพราะร่างกายจะสามารถควบคุมระดับคอร์ติซอลได้ดีกว่า ส่วนการออกกำลังกายแบบ HIIT นั้นจะมีช่วงเวลาที่เราต้องผ่อนแรงกลับมาใช้ระดับความเข้มข้นต่ำจึงช่วยความคุมระดับคอร์ติซอลได้เช่นกัน
การวิจัยยังคงดำเนินต่อไปแต่ดูเหมือนกว่าการออกกำลังกายแบบ HIIT จะมีอะไรมากกว่าแค่การเป็นเพียงกระแสนิยม
การออกกำลังกายแบบ HIIT มีข้อได้เปรียบมากกว่ารูปแบบอื่น เมื่อพูดถึงประโยชน์ที่จะได้รับทั้งกับร่างกายและจิตใจ ซึ่งยังคงต้องมีการวิจัยในเรื่องผลลัพธ์ของการออกกำลังกายที่มีสมองต่อไปอีก แต่ดูเหมือนว่าการออกกำลังกายแบบ HIIT จะเข้าท่าที่สุด
การออกกำลังกายแบบ HIIT ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ในช่วงเวลาสั้นๆ และช่วยให้เราลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่าการออกกำลังกายแบบ HIIT จะช่วยยืดความยาวของ “ทีโลเมียร์” ซึ่งใช้ในการวัดอายุขัยของเซลล์อีกด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่อง HIIT ก็สามารถใช้วิธีไปเรียนตามโรงยิมหรือจ้างเทรนเนอร์ส่วนตัวก็ได้ แต่โดยหลักพื้นฐานแล้วมันจะแบ่งเป็นช่วงที่เราต้องออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นสูงสลับกับช่วงที่ใช้ระดับความเข้มข้นต่ำเพื่อฟื้นตัว
ยกตัวอย่างเช่น การวิ่งจ๊อกกิ้งหรือใช้เครื่อง elliptical ในระดับความเข้มข้นสูง 2 นาที สลับกับการใช้ระดับความเข้มข้นต่ำเพื่อฟื้นตัว 1 นาที ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบ 20-30 นาที
[อ่านเพิ่มเติม] 7 ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบ HIIT
ที่มา : https://bit.ly/2wGEKd9
เปิดกรุ๊ปให้เพื่อนๆ ที่รักการวิ่ง ไปคุยกัน
🏃 ♂ bit.ly/VRUNGROUP
.
#วิ่งไหนกันปั่นไหนดี #Sports #Running
#Cycling #Triathlon #Swimming